Emergence of Ancient Philosophy

ศ.กีรติ บุญเจือ... ปรัชญาตะวันตก พิจารณาได้ว่าเกิดในยุคโบราณ มีจุดเริ่มต้นจาก เธลิส (Thales) ซึ่งถือว่าเป็นคนแรกของปรัชญาตะวันตกเท่าที่รู้  ที่คิดว่าโลกมีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเอง ขณะนั้นทุกคนยังคิดแบบดึกดำบรรพ์ คือ เชื่อว่าภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเกิดจากน้ำพระทัยของเบื้องบน เธลิสเองในระยะแรกก็คิดเช่นนั้น อยู่มาวันหนึ่งเธลิสเกิดเห็นปัญหาใหม่ขึ้นมาว่า" เราจะอธิบายเหตุการณ์ทั้งหลายโดยไม่อ้างเบื้องบนจะได้หรือไม่"[1] Continue reading "Emergence of Ancient Philosophy"

การรู้ประวัติศาสตร์ทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น

ศ.กีรติ บุญเจือ ... การเรียนปรัชญาโดยทั่วๆ ไป มักไม่ลงลึกในประวัติศาสตร์ แต่การรู้ประวัติศาสตร์จะทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น การเรียนปรัชญาจึงมักควบคู่กับการศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับความรู้รอบตัว Continue reading "การรู้ประวัติศาสตร์ทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น"

ปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู

แนวคิดจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยโบราณ เรียกว่า “สนาตนธรรม” ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ในสมัยต่อมาเรียกว่า “ไวทิกธรรม” คือธรรมที่ได้มาจากพระเวท ซึ่งหมายถึงคำสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ต่อมาจึงเรียกว่า “พราหมณธรรม” ซึ่งแปลว่าคำสั่งสอนของพราหมณ์ ต่อมาเรียกชื่อใหม่ว่า “หินทูธรรม” ซึ่งแปลตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันตกฤต แปลว่า “ผู้ละเว้นหิงสากรรม” คือ อหิงสก “หินทูธรรม” หรือ “ฮินดูธรรม” จึงแปลว่า ธรรมะที่สอนลัทธิอหิงสา Continue reading "ปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู"

ปรัชญากรีกยุครุ่งเรือง

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต: ปรัชญากรีกยุครุ่งเรือง เป็นช่วงเร่งหากฎความจริง  (ก.ค.ศ.450-322) ยุคสั้นๆ ตั้งแต่ Socrates จนถึง Aristotle และเหล่า Sophists แห่งกรุงเอเธนส์ สนใจมาตรการความจริง จึงเกิดคำถามสำคัญคือ ความจริงที่แน่นอนตายตัวมีหรือไม่ มีมาตรการสากลหรือไม่ ถ้าไม่มีทำไมจึงไม่มี ถ้ามีอยู่ที่ไหน Sophists ต่างตอบว่า ไม่มี เพราะโครงสร้างสมองของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน Socrates ตอบว่า มี อยู่ในสมองของมนุษย์ เพราะโครงสร้างสมองของมนุษย์เหมือนกัน Plato ตอบว่ามี…

Avicenna

ปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval Philosophy) จำแนกตามพื้นฐานความเชื่อเรื่อง "โลกหน้า" อันเป็นคำสอนทางศาสนาของศาสนาที่นับถือพระเจ้า และศาสนาที่เชื่อว่ามีเทวะ การแบ่งขอบเขตยุคจึงยุ่งยากในแต่ละศาสนา แต่หากพิจารณาเป็นกระบวนทรรศน์ก็แบ่งย่อยไปตามศาสนา กระบวนทรรศน์ยุคกลางของตะวันตก นับจากปี ค.ศ.529 ซึ่งศาสนาคริสต์ได้รับการยกเป็นศาสนาประจำอาณาจักรโรมัน และมีการห้ามนับถือศาสนาอื่น ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกว่า 1,000 ปี กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาอิสลามนับเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.622 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งฮิจเราะห์ศักราช กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาพุทธ นับเริ่มตั้งแต่ปี ก.ค.ศ.543 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งพุทธศักราช กฎหมายโรมันให้อิสระในการนับถือและเผยแผ่ศาสนา ลัทธิเพลโทว์ใหม่…

Due to the scope of philosophy is unequal.

ปัญหาเมื่อขอบเขตเนื้อหาปรัชญาไม่เท่ากันศ.กีรติ บุญเจือปรัชญาตะวันตกถือกันว่าเนื้อหาที่ยอมรับเป็นทางการว่าเป็นเนื้อหาของปรัชญานั้นจะต้องเป็นเรื่องขบคิดเพื่อรู้โดยเฉพาะ ดังนั้น ความรู้เรื่องใดที่เป็นคำสอนให้ปฏิบัติหรือมีการปฏิบัติทดลองเพื่อสรุปผลเป็นความรู้ย่อม "ไม่ใช่เนื้อหาของปรัชญา"วงวิชาการปรัชญาตะวันตกจึงแยกวิชาปรัชญาออกจากศาสนาและวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ปรัชญาอินเดียสนใจกว้างขวาง หากแต่หลายหัวข้อในทางปรัชญาตะวันตกจะอยู่ในวิชาเทววิทยา (theology)การที่วงปรัชญาต่างๆ จะสนทนากันได้นั้น ความจำกัดตามขอบเขตเดิมย่อมจะทำให้คิดเห็นไม่ตรงกัน สรุปผลไม่ตรงเป้าหมายและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างกัน ทางแก้ไขก็คือ การขยายขอบเขตของปรัชญาให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับความคิดปรัชญาในทุกๆ วงการ นั่นคือการเล็งเห็นปัญหาและการพยายามหาคำตอบทั้งหมดของมนุษย์ให้ถือว่าเป็นปรัชญาทั้งสิ้นเมื่อกำหนดเนื้อหาปรัชญาอย่างนี้แล้วก็จะใช้เป็นขอบเขตสากลของเนื้อหาปรัชญาได้ ทำให้ปรัชญาในวงต่างๆ อาจจะนำเอามาพิจารณาร่วมกันได้ วิเคราะห์ และวิจารณ์ด้วยมาตรการเดียวกันได้ และอาจนำเอามาช่วยอธิบายกันและกันได้ จนถึงกับเป็นที่ยอมรับข้ามแดนกันได้     

เป้าหมายของการเรียนปรัชญา

"ปรัชญาคือ วิชาว่าด้วยปัญญา" Philosophy is the knowledge about mind: its nature and activities for internal outcome and external outcome (กีรติ บุญเจือ, 2559) ............. เรียนปรัชญาเพื่ออะไร เรียนไปก็ไม่มีอาชีพเฉพาะ เรียนอะไรที่มีงานทำดีกว่า คำถามเหล่านี้สำหรับผู้สนใจจะเรียนปรัชญาไม่ว่าระดับใด ย่อมอาจจะรู้สึกว่าตอบได้ยาก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้เหมือนกันว่าปรัชญาคืออะไร เรียนแล้วได้อะไร มีอาชีพให้ทำไหม…