Philosophical Contemplation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; การเพ่งพินิจ contemplation เริ่มใช้ในราว คริตศตวรรษ 1200 ใช้ contemplacioun (ฝร.) หมายถึง การไตร่ตรอง/การรำพึงทางศาสนา มีรากภาษาละติน (contemplationem) หมายถึง การกระทำของการมอง-การเพ่งพินิจ การจ้องมองอย่างตั้งใจ สังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง โดยทั้งหมดหมายรวมถึง "เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับการสังเกต" มาจาก com+ templum (พื้นที่สำหรับการทำการทำนาย; temple วิหาร) ปลายศตวรรษที่…

ปรัชญาของนักพรต

ผศ. (พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต แนวคิดปรัชญานักพรตนี้ เป็นฝ่ายลี้ลับ เป็นแนวคิดที่ผสมผสานหลักการหลายอย่างเข้าไว้ โดยสืบทอดมาจากความรู้ของเหล่านักพรต นักบวช (Hermit & Priest) ในยุคโบราณ โดยเชื่อว่า เป็นกฎที่กำกับโลก ผู้ถือพรตได้ยึดหลักการเหล่านี้แตกต่างกัน กำหนดเป็นทางในการปฏิบัติตน และการสอนเพื่อฝึกฝนจิตเป็นสำคัญ Continue reading "ปรัชญาของนักพรต"

จริยธรรมคริสเตียน

ดร.ยุทธภัณฑ์ พินิจ ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์ จริยธรรมคริสเตียน มีผู้ให้ความหมายไว้อย่างสอดคล้องและมีทิศทางเดียวกัน โดยได้อธิบายความหมายไว้ว่า จริยธรรมคริสเตียน คือ จริยธรรมที่พระเจ้าทรงสำแดงไว้ในพระคัมภีร์ทรงเปิดเผยให้เห็นถึงน้ำพระทัยของพระองค์แก่มนุษย์ นั่นคือเป้าหมายสุดยอด คริสเตียนจึงต้องใช้วิจารณญาณตามคำสอนในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นการตีความหมาย การค้นหาน้ำพระทัยพระเจ้า พระประสงค์ของพระองค์ที่ให้มนุษย์ได้กระทำอย่างถูกต้อง หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจกระทำอย่างรับผิดชอบ คริสเตียนยึดถือน้ำพระทัยของพระเจ้าเป็นหลัก (บารเนทท์, 1970, หน้า 3) Continue reading "จริยธรรมคริสเตียน"

ว่าด้วย วัชรยาน

บรรพตี รำพึงนิตย์ ...ศศ.ม. ปรัชญาและจริยศาสตร์ สภาพสังคมในปัจจุบันมีแต่การแก่งแย่งแข่งขัน การทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งในหน้าที่การงาน การสร้างฐานะ การพยายามเป็นที่ยอมรับของสังคม หากจิตใจตกต่ำก็จะไม่สามารถเอาตัวรอดจากกระแสความคิดเหล่านี้ได้ แต่ถ้าบุคคลใดมีจิตใจที่เข้มแข็งย่อมผ่านพ้นทุกปัญหาไปได้ ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีสติมีวิจารณญาณ ผู้มีปัญญาจึงมุ่งแสวงหาแนวทางรับมือความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ โดยมีทรรศนะว่า การป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าแก้ไขภายหลัง จึงสนใจประเด็นไปที่การพัฒนาทุกมิติและครอบคลุมถึงมิติทางจิตวิญญาณ Continue reading "ว่าด้วย วัชรยาน"

ภววิทยาของปัญหาในศาสนาพุทธของประเทศไทย

ผศ.(พิเศษ). ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต การมองเห็นปัญหาที่ผู้อื่นมองไม่เห็น และการแสวงหาคำตอบเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นคำตอบใหม่หรือคำตอบเก่าแต่แสดงเหตุผลดีกว่าเดิม หรือต่างไปจากเดิม ถือเป็นหน้าที่อย่างสำคัญของผู้สนใจปรัชญาจนถึงระดับนักปรัชญา กระนั้น การเข้าใจปัญหานั้นจะต้องมองสถานภาพ (status) ของปัญหาให้ชัดเจน มองเห็นสารัตถะ (essence) หรือแก่นแท้ภายในของปัญหา และมองลักษณะปรากฎ (character) ของปัญหานั้น ซึ่งได้มีการแนะนำวิธีไว้หลายอย่าง เช่น อุปมานิท้ศน์ การแขวนความหมาย การทำใจเป็นกลาง และปรากฎการณ์วิทยา ซึ่งวิธีเหล่านี้ล้วนมุ่งไปสู่การมองสิ่งที่เป็นปัญหานั้นในระดับภววิทยา (ontological perspective) เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริงอย่างที่ปรากฎ Continue reading…

Religious is Necessary

อ.ดร.เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์.. ความต้องการศาสนาของมนุษย์นั้นมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อเราต้องการเหตุผลเหนือการพิสูจน์ เราก็ต้องพึ่งศาสนาเป็นผู้อธิบาย และแต่ละศาสนาก็อธิบายเหตุผลตามเนื้อหาของแต่ละศาสนา ดังนั้นบางครั้งเหตุผลของแต่ละศาสนาก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Continue reading "Religious is Necessary"

ชีวิตที่ดี

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต: เมื่อมนุษย์สามารถอยู่รอดเป็นชีวิตได้แล้ว ก็ย่อมต้อง อะไรมีเป้าหมายที่มาจากสัญชาตญาณคือ ไม่ได้คิดเองแต่ธรรมชาติผลักดันให้ทำเพราะมีเป้าหมายตามสัญชาตญาณเพื่อเอาตัวรอดและการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ มนุษย์ก็จะกระทำสิ่งนั้น อาจถูกผิด ดีชั่ว หรือไม่ยังไม่ต้องพิจารณาเพราะในระดับนี้ยังไม่มีปัญญาพิจารณาได้ มนุษย์ต้องเรียนรู้จนมีปัญญา เมื่อมีปัญญามนุษย์ก็จะมีเป้าหมายจากปัญญาของตนเองที่เข้าใจตนเองซึ่งจะแตกต่างกันไปตามบุคคล Continue reading "ชีวิตที่ดี"