Philosophical Contemplation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; การเพ่งพินิจ contemplation เริ่มใช้ในราว คริตศตวรรษ 1200 ใช้ contemplacioun (ฝร.) หมายถึง การไตร่ตรอง/การรำพึงทางศาสนา มีรากภาษาละติน (contemplationem) หมายถึง การกระทำของการมอง-การเพ่งพินิจ การจ้องมองอย่างตั้งใจ สังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง โดยทั้งหมดหมายรวมถึง "เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับการสังเกต" มาจาก com+ templum (พื้นที่สำหรับการทำการทำนาย; temple วิหาร) ปลายศตวรรษที่…

การแสวงหาความรู้

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว; มนุษย์มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้ที่ก้าวหน้ามากกว่าเผ่าพันธุ์อื่นใดในโลกนี้   ด้วยการรู้คิดและมีเหตุผลได้ทำให้เกิดระบบการคิดเชิงเหตุผล และการคิดเชิงเหตุผลนี้เองที่นำพาให้มนุษย์มีความสามารถในการแยกแยะความเหมือน (sameness) และความแตกต่าง (difference) ได้ Continue reading "การแสวงหาความรู้"

Philosophy of Knowledge

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต ... เมื่อกล่าวถึง "ปรัชญาความรู้" ย่อมทำให้ย้อนนึกไปถึงศาสตร์สำคัญคือ ญาณวิทยา (epistemology) ที่เป็นวิชาว่าด้วยความรู้ หรือที่ฝ่ายนักปรัชญาในยุคใหม่เรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (theory of knowledge) สิ่งที่สนใจในวงรอบความคิดนี้ย่อมไม่พ้นขอบเขตการศึกษาของญาณวิทยา ทั้งนี้ย่อมศึกษาผ่านประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของวิชาการความรู้ (science of knowledge) ในฐานะบริบทเชิงมโนทรรศน์ของความรู้ (conceptual context of knowledge) ในแต่ละยุค แต่ละกระบวนทรรศน์ความคิด (paradigm of thought) ซึ่งสรุปลงเป็นแต่ละลัทธิทางปรัชญา โดยขบคิดกันใน 2…

วิจัยปรัชญากับการนิยาม

การวิจัยในประเทศไทยมีความเห็นต่างกันบางเรื่องในหมู่กรรมการผู้ควบคุม/สอบการวิจัยและวิทยานิพนธ์ เช่น การทำวิทยานิพนธ์ปรัชญาควรมีการนิยามศัพท์หรือไม่ ในทางปรัชญาย่อมต่องเสนอว่าไม่จำเป็นต้องมีทุกเล่ม เพราะงานปรัชญาบางแบบเป็นงานแสวงหาคำนิยามของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นจะนิยามก่อนไม่ได้ แต่หากจะนิยามก็อาจทำได้กว้างๆ ให้ทราบว่างานนั้นจะพิจารณาเรื่องนั้นๆในความหมายใดในแง่ทิศทาง แต่ต้องระบุว่าที่สุดแล้ว งานปรัชญาคือรากฐานของการนิยามเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่ง สมมติเราทำวิทยานิพนธ์เรื่อง Mind in Buddhist Philosophy งานนี้เรากำลังจะศึกษาว่า Mind ในพุทธปรัชญาคืออะไร จะนิยามก่อนได้อย่างไร เพราะยังไม่ได้ศึกษาเลย แต่อาจพูดกว้างๆว่าเราศึกษาเรื่องนี้ในขอบเขตของ philosophy of mind เท่านี้ก็พอ ใครไม่เข้าใจก็แปลว่าไม่รู้เรื่องปรัชญา ไม่ควรเป็นกรรมการสอบ/ควบคุม การเห็นตัวอย่างวิทยานิพนธ์ที่คนอื่นทำในโลกดีที่สุดครับ สังเกตดูว่ารูปแบบเขาเป็นอย่างไร…

verfication by the indirect method

verfication by the indirect method การทดสอบชุดการอ้างเหตุผล โดยวิธีตลบหลัง ผู้แต่ง : พระปรียะพงษ์  คุณปัญญา ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ การทดสอบด้วยวิธีการตลบหลังนี้  เป็นวิธีการที่ใช้ทดสอบความสมเหตุสมผลและความไม่สมเหตุสมผลของชุดการอ้างเหตุผล  ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า  วิธีการนี้ใช้ทดสอบความสมเหตุสมผลและไม่สมเหตุสมผลนั้นทำให้ได้ผลเร็ว  โดยการสังเกตตารางความจริงเพียงบรรทัดเดียวสำหรับตารางของแบบทดสอบ  นั่นก็หมายความว่า เฉพาะบรรทัดที่มีชุดของการอ้างเหตุผลที่ไม่สนับสนุนหรือขัดแย้งนั้นเอง ซึ่งเมื่อเราสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว เราก็จะสามารถอธิบายได้ถึงความไม่สมเหตุสมผลของชุดการอ้างเหตุผลดังกล่าวว่า  ซึ่งเหตุผลดังกล่าวหรือบรรทัดดังกล่าวนั้นได้ ในชุดของการอ้างเหตุผลนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ว่า  ทุกๆ ชุดของการอ้างเหตุผลนั้นจะเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้ก็ต่อเมื่อ ชุดของการอ้างเหตุผลนั้นเป็นจริงทั้งหมด …

unrepresentative generalization

unrepresentative generalization ไม่ใช่ตัวแทนให้สรุป ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ   ข้อนี้ก็เรื่องอุปนัยเหมือนประสบการณ์ที่ได้มาจากนั้นไม่เพียงแต่ไม่เพียงพอเท่านั้น   แต่เป็นประสบการณ์ที่ใช้ไม่ได้สำหรับข้อสรุปเข้าข่ายเนื้อหาไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจะไม่ได้ประสบการณ์มาจำนวนมากสักเพียงไรก็ไม่สามารถทำให้การอนุมานสมเหตุสมผลไปได้ เช่น 2.1 “พอขึ้นท่าเรือคลองเท่านั้นก็ถูกแท็กซี่ต้มเสียแล้วจะไปไว้ใจอะไรกับคนไทย” ย่อมจะเห็นได้ทันทีว่า ชาวต่างประเทศที่พูดเช่นนี้ถือเอาคนขับรถแท็กซี่เป็นตัวแทนของคนไทยทั้งชาติ      ซึ่งตามปกติแล้ว คนขับแท็กซี่ตามท่าเรือไม่ว่าท่าเรือไหนของโลกมักจะเป็นคนฉวยโอกาส ไว้ใจไม่สู้ได้เพราะคนโดยสารเป็นคนจรและไม่ค่อยจะรู้ราคาค่าโดยสาร จะเอาลักษณะของคนประเภทพิเศษจำนวนน้อยนี้มาเป็นลักษณะของคนไทยรวมได้อย่างไร ถ้าสมมติไม่ใช่คนขับแท็กซี่ แต่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นคนต้มชาวต่างประเทศคนนั้น แน่นอนว่าเขามีสิทธิเพียงพอตามนัยตรรกวิทยาจะสรุปได้ว่า “ขนาดอาจารย์มหาวิทยาลัยยังไว้ใจไม่ได้เช่นนี้ สาอะไรกับคนอื่น…

unoticed factor

unoticed factor  ตัวการรอดพ้นสายตา ผู้แต่ง : กันต์สินี  สมิตพันธ์ ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ในการพิสูจน์แบบอุปนัย (induction) นั้น ความบกพร่องสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่าตัวการรอดพ้นสายตา สมัยโบราณนั้น ใคร ๆ ก็เชื่อว่าโลกแบน ในยุคแรก แนวความคิดเกี่ยวกับเอกภพมีขอบเขตจำกัดมาก เนื่องจากพัฒนาการทางด้านแนวความคิด ประสบการณ์และเครื่องมือต่างๆ ยังอยู่ในวงแคบ คนโบราณจึงมีความเชื่อว่าโลกแบน เพราะมนุษย์รู้จักสังเกต และพยายามใคร่รู้ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมาแล้วก็เริ่มสังเกตจดจำ…