มาตรการความประพฤติ

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน; ในปัจจุบัน ผู้คนเกิดภาวะที่แยะแยะไม่ได้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับจริยศาสตร์ตามความเข้าใจของอริสโตเติล อย่างไรก็ตาม การจะแยกแยะได้ชัดเจนหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจมาตรการความประพฤติ (conduct) เสียก่อน ว่าจะมองผ่านเกณฑ์รับรองอย่างไร มาตรการความประพฤติ มี 2 แนวทางคือ ลัทธิอัตนัยนิยม (Subjectivism) ถือว่าไม่มีมาตรการตายตัวแน่นอน มาตรการที่มีขึ้นมานั้นมนุษย์กำหนดกันขึ้นเองด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน แล้วพยายามชักชวนให้คนทั่วไปเชื่อว่าเป็นมาตรการตายตัวสำหรับมนุษย์ทุกคน บางระบบก็มีคนเชื่อมาก บางระบบก็มีคนเชื่อน้อย แล้วแต่ว่าจะสามารถปลูกฝังศรัทธาได้เพียงไร ลัทธิปรนัยนิยม (Objectivism) ถือว่ามาตรการความประพฤติมีแน่นอนตายตัว…

อำนาจลึกซึ้ง

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; ปีเตอร์ บาวมานน์ ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาแห่ง Swarthmore College, Pensylvania, USA ได้เขียนงานที่น่าสนใจเกี่ยวกับอำนาจลึกซึ้ง (soft power) เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิดเชิงวิพากษ์ที่มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย โดยให้ตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงและข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ต่อแนวคิดเรื่องอำนาจลึกซึ้งของโจเซฟ ไนย์ (Joseph Nye) Continue reading "อำนาจลึกซึ้ง"

การต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วยกฎหมาย

อ.ดร.พจนา มาโนช ในช่วงเวลานี้มีการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ และในโครงสร้างการบริหารของประเทศ ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันว่า ประเทศกำลังถดถอยทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนหนึ่งก็มาจากคอร์รัปชั่น และถ้าไม่แก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น การฟื้นตัวของประเทศก็จะไม่ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการปกครองโดยระบบการเมืองอย่างไรก็ตาม Continue reading "การต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วยกฎหมาย"

what is art?; Philosophical perspective

คุณ สิอร เวสน์ ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะ จะมองเห็นศิลปะเป็นขุมทรัพย์ สำหรับผู้ที่ไม่สนใจ จะรู้สึกห่างไกล และไม่เชื่อมโยง Continue reading "what is art?; Philosophical perspective"

Beauty privileges

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต สิทธิพิเศษของร่างกาย (ฺBody privilege) เป็นแนวคิดใหม่ที่ Samantha Kwan (นักคิด นักเขียน) ยืมมาจากแนวคิดเรื่องสิทธิพิเศษของคนผิวขาว (white man privilege) ของ Peggy McIntosh (นักสตรีนิยมชาวอเมริกัน) และพัฒนามาเป็นแนวคิดที่ว่าสิทธิพิเศษอาจขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของบุคคลด้วย โดยอธิบายว่า สิทธิพิเศษนี้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของบางคน เช่น ในบางกรณี ร่างกายของบุคคลถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้ความฉลาดของบุคคลได้ ร่างกายของบุคคลยังเป็นปัจจัยในการตัดสินใจในการจ้างงาน ทั้งการจ้างงานและการเลื่อนตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษนี้อาจใช้เฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น…

คุณค่าทางจริยศาสตร์

พ.อ. ดร.ไชยเดช แก่นแก้ว การศึกษาเรื่องคุณค่าทางจริยศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทำของมนุษย์นั้น สามารถพิจารณาตามขอบเขตของจริยศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาคำตอบใน 3 ประเด็นนี้ คือ 1.   คุณค่าการกระทำของมนุษย์ คือ การศึกษาว่าคุณค่ามาจากไหน และมีความสำคัญอย่างไร คุณค่าการกระทำ ความประพฤติ พฤติกรรมของมนุษย์ที่ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ควร/ไม่ควร เป็นแบบใด ดีชั่ว ถูกผิดคืออะไร สามารถนิยามได้หรือไม่ ถ้านิยามได้จะนิยามว่าอย่างไร ความดี ความชั่วมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม และถ้าหากความดีชั่ว ถูกผิดมีอยู่จริงแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร Continue reading…

การยืนยันเชิงคุณค่าต่อคำว่า “ดีงาม” ตามสมรรถภาพคิดปรัชญาที่เป็นกลาง

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว ความเชื่อเรื่องความดีและความงามในบริบทของวัฒนธรรมไทยนั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องเดียวกัน วัฒนธรรมไทยจึงเลือกใช้คำว่า “ดีงาม” เพื่อใช้อธิบายคุณค่าของความประพฤติของบุคคลว่าควรยอมรับหรือไม่ โดยเลือกใช้คำว่า “ดีงาม” เป็นเกณฑ์ตัดสินเชิงคุณค่า เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า เป็นแนวคิดทางปรัชญาที่เป็นกลาง กล่าวคือ เป็นแนวคิดที่ให้ข้อคิดอย่างที่ไม่ขาดและไม่เกิน (พอเพียง)         ดังนั้นการให้คำนิยามว่า “ดีงาม” ในสภาพที่เป็นกลางจึงหมายความพอดีที่กลมกลืนกันระหว่างความดีและความงาม ซึ่งอาจแสดงออกให้เห็นคุณสมบัติในเชิงกายภาพเพียงด้านหนึ่งด้านใดตามที่ปรากฏให้เห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเรียกว่า “สิ่งงาม” หรือ “สิ่งดี” ก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติภายในของสิ่งนั้นก็พบว่ามี “สิ่งดี” หรือ “สิ่งงาม” อีกส่วนหนึ่งแฝงอยู่ภายใน Continue…