การวิจัยปรัชญา

ปรัชญาเกิดขึ้นในโลกเมื่อมนุษย์เกิดปัญหาและต้องการคำตอบ จึงอาจกล่าวได้ว่าปรัชญามีมาพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยังไม่รู้จักใช้ภาษา เมื่อมนุษย์พัฒนาการใช้เสียงจนเกิดภาษาจึงวิวัฒนาการการใช้ปัญญาเรื่อยมาเพื่อตอบปัญหา อย่างไรก็ตาม ถือว่าวิชาปรัชญาเกิดหลังภาษา เพราะต้องใช้ภาษาในการถกเถียงคำถามและคำตอบจนกว่าจะประมวลเป็นวิชาการอย่างปัจจุบัน

ปัญญามนุษย์คิด 2 เรื่อง

  1. คิดสิ่งภายนอก = ความเป็นจริง
  2. คิดสิ่งภายใน = อะไรค้ำประกันความจริง/ไม่จริง มีคุณค่า/ไม่มีคุณค่า เป็นประโยชน์/ไม่เป็นประโยชน์

เมื่อมีมนุษย์ 2 คนขึ้นไป ก็เกิดภาษาเป็นตัวเชื่อม จึงเกิดการเรียนรู้

การเรียนปรัชญาก็เพื่อรู้ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก ปัญหานั้นเป็นปัญหาอะไรก็ได้ ปัญหาเหล่านี้บ้างก็ความรู้เฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาตอบไว้แล้ว เป็นความรู้ที่ตายตัวแล้ว แต่ในบางปัญหาก็ยังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่นอนตายตัวได้ จึงยังเป็น “ปัญหาปรัชญา” ต่อไป

ปรัชญามุ่งหา “คำตอบที่เป็นไปได้” นั่นคือ 1) มีเหตุผลสนับสนุนให้เห็นว่าเป็นคำตอบได้ หรือ 2) คำอธิบายคำตอบก็ไม่ขัดแย้งในตัวเอง และ 3) ไม่ไร้ความหมาย

ปัญหาปรัชญา เกิดจากสมรรถนะคิดของมนุษย์ จึงต้องฝึกมองให้เห็นปัญหาไว้ให้มาก ย่อมได้เปรียบผู้ที่มองไม่เห็นปัญหา

  • เพื่อรู้จักมองเห็นปัญหาที่คนธรรมดามองเองไม่เห็น
  • เพื่อรู้จักมองหาคำตอบทุกคำตอบที่เป็นไปได้
  • เพื่อรู้จักเก็บส่วนดีจากทุกคำตอบมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของตน

การเรียนปรัชญา จะต้องสร้างเนื้อหาปรัชญาใหม่ และมีการเรียนที่ไม่ใช่เรียนเป็นเรื่องๆ แต่ต้องใช้ปัญญา คิดปัญหาและหาคำตอบปรัชญาใหม่ (กีรติ บุญเจือ, 2559)

Kirti Bunchua
Kirti Bunchua