Avicenna

ปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval Philosophy) จำแนกตามพื้นฐานความเชื่อเรื่อง "โลกหน้า" อันเป็นคำสอนทางศาสนาของศาสนาที่นับถือพระเจ้า และศาสนาที่เชื่อว่ามีเทวะ การแบ่งขอบเขตยุคจึงยุ่งยากในแต่ละศาสนา แต่หากพิจารณาเป็นกระบวนทรรศน์ก็แบ่งย่อยไปตามศาสนา กระบวนทรรศน์ยุคกลางของตะวันตก นับจากปี ค.ศ.529 ซึ่งศาสนาคริสต์ได้รับการยกเป็นศาสนาประจำอาณาจักรโรมัน และมีการห้ามนับถือศาสนาอื่น ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกว่า 1,000 ปี กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาอิสลามนับเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.622 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งฮิจเราะห์ศักราช กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาพุทธ นับเริ่มตั้งแต่ปี ก.ค.ศ.543 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งพุทธศักราช กฎหมายโรมันให้อิสระในการนับถือและเผยแผ่ศาสนา ลัทธิเพลโทว์ใหม่…

Category of Immanuel Kant

ศ.กีรติ บุญเจือ Immanuel Kant เป็นชาวเยอรมัน และภาษาเยอรมันเป็นภาษาอารยันที่มีความใกล้เคียงดั้งเดิม Kant มีความคิดที่ไม่เหมือนกับ Aristotle ที่คิดว่ากระบวนการทำงานในสมองซึ่งมีความคิดและขั้นตอนต่างๆ ต้องตรงกับความเป็นจริงที่อยู่ภายนอกด้วย โดยใช้สูตรว่าธรรมชาติไม่ล้มเหลว (nature does not fail) ซึ่ง Kant จะคิดคัดค้านตรงนี้ ที่บอกว่าธรรมชาติไม่ล้มเหลว คือเราคิดอย่างไร ข้างนอกก็ต้องมีจริงอย่างนั้น Kant บอกว่าไม่จริง เพราะตัวคิดมันเป็นโรงงาน สมองของมนุษย์เป็นโรงงาน เรารู้ว่าสัตว์เดรัจฉานก็รู้อะไรต่างๆ เช่นสุนัข แต่เมื่อเราผ่าสมองของคนและสัตว์ประเภทต่างๆ พบว่ามันก็จะไม่เหมือนกัน ดังนั้น…

postmodern

ศ.กีรติ บุญเจือ โพสท์โมเดิร์น หรือ หลังนวยุคนิยม เป็นกระบวนทรรศน์ที่เป็นกระแสรสนิยมทางความคิดล่าสุดของมนุษยชาติ มนุษย์เราเปลี่ยนรสนิยมมาหลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งใดที่กระแสรสนิยมใหม่ได้แผ่ขยายออกไปรวดเร็วและกว้างขวางเท่าครั้งนี้ ทั้งนี้ก็ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารที่ก้าวหน้าที่เป็นผลผลิตของกระบวนทรรศน์นวยุค (modern) คนในสังคมที่รับกระแสหลังนวยุคแล้ว ย่อมมีคนที่ทำอะไรแปลกๆ แหวกแนว รวมถึง การกระทำที่บ้าๆ บอๆ (weird) และการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างถึงพริกถึงขิง แต่แกงแล้วยังไม่อร่อยลิ้น วัฒนธรรมชาวบ้านนั้นสามารถกระโดดจากกระบวนทรรศน์ที่ 1 ดึกดำบรรพ์ เชื่อว่าทุกสิ่งขึ้นกับเบื้องบน มาสู่กระบวนทรรศน์ที่ 5 เชื่อในการไม่ยึดมั่นถือมั่นได้ในทันที แต่กระบวนทรรศน์ที่ 5 อย่างชาวบ้านนั้นต่างกับกระบวนทรรศน์ที่ 5…

word, the role of … in philosophy

word, the role of … in philosophy บทบาทของคำในปรัชญา ผู้แต่ง :   สุดารัตน์  น้อยแรม ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นการใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน สัญลักษณ์ หรือ ภาษาสัญญาณ หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลง การสื่อสารก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ไม่เป็นไปตามเจตนาหรือไม่สามารถสื่อสารได้ ภาษา คือ เครื่องหมายที่มนุษย์และกลุ่มชนกำหนดขึ้นอย่างมีระบบ…

Wittgenstein on Grammar of the Word God

Wittgenstein on Grammar of the Word God  ไวยากรณ์ของคำพระเจ้าของวีทเกินชทายน์ ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ทฤษฎีภาพ (picture theory) ของ วิทเกินชทายน์ (Ludwig Wittgenstein 1889-1951) เมื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาศาสนา จะทำให้เปลี่ยนท่าทีของผู้เชื่อโดยไม่เปลี่ยนความเชื่อ นั่นคือต้องไม่เปลี่ยนคำสอนแต่เปลี่ยนความเข้าใจคำสอนอย่างมีเหตุผล เช่น แทนที่จะเข้าใจภาษาศาสนาตามตัวอักษรเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเกมภาษาอย่างหนึ่ง…

Wittgenstein on Grammar of Belief

Wittgenstein on Grammar of Belief  ไวยากรณ์ของความเชื่อของวีทเกินชายน์ ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ไวยากรณ์ความเชื่อ (grammar of belief) เป็นกรอบความคิดที่ให้หลักการ  หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า ความจริงศาสนาอยู่ที่ความสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต  ไม่ให้ความสำคัญแก่หลักฐานและข้อพิสูจน์ ซึ่งวิชาการชอบใช้เป็นหลักค้ำประกันความจริง ความรู้ประเภทหลังนี้อยู่ในกรอบของไวยากรณ์ความคิด  (ดู grammar of concept) พิธีกรรมไม่ใช่เกมความหมาย แต่เป็นการแสดงภาพของความเป็นจริงทางศาสนา …

William of Ockham

William of Ockham วิลเลียมแห่งอากเคิม ผู้แต่ง : เอนก  สุวรรณบัณฑิต ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ วิลเลียมแห่งอากเคิม 1295-1360 เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่อากเคิม (Ockham or Occam) ในจังหวัดเซอร์เรย์ (Surrey) เข้าถือพรตในคณะแฟรงเสิสเคิน เรียนที่ออกซ์ฟอร์ด ปี ค.ศ. 1324 ถูกเรียกตัวไปสอบสวนที่อาวิญองในข้อหาสอนนอกรีต ดีวเรินด์ซึ่งอยู่ในคณะกรรมการได้พยายามช่วยไว้ ปี ค.ศ. 1327 คณะแฟรงเสิสเคินถูกสันตะปาปาจอห์นที่…