ปรัชญาศึกษา: บทที่ 9 ปรัชญาหลังนวยุค-2

ลัทธิรื้อสร้างใหม่ (Reconstruction) เริ่มรู้กันในราวปี 1942 ต่อมา Richard D. Mosier จากหนังสืง The Philosophy of Reconstructionism, Educational Theory 1 ในปี 1951  โดยเสนอการรื้อสร้างใหม่ในด้านตรรกะ ศีลธรรม การศึกษา และปรัชญา ในยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้ Theodore Branmeld นักปรัชญาการศึกษาเป็นแนวหน้าในการสนับสนุนแนวคิดนี้เป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันในทางศาสนาได้เกิดเป็นท่าทีต่อการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์ของศาสนายิวโดยเน้นการบ่มเพาะประเพณีและวิถีชีวิตชาวยิว สำหรับชาวคริสต์เน้นการพิจารณากฎตามคัมภีร์ไบเบิลที่เป็นพื้นฐานของกฎหมายแห่งรัฐและศีลธรรมของสังคม รวมไปถึงท่าทีในการยอมรับการรื้อฟื้นความเชื่อและการปฏิบัติในศาสนาโบราณต่างๆ…

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 13 ปรัชญาธรรมาภิบาล

ความเป็นมาของธรรมาภิบาล ธรรมาภิบาล เป็นศัพท์ประดิษฐ์ที่นักวิชาการไทยได้บัญญัติขึ้นใช้จากคำว่า Good Governance  โดยมีชุดคำที่ใช้ทดแทนกันได้แก่ ธรรมาภิบาล ประชารัฐ ธรรมรัฐ ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี การปกครองโดยธรรม กรอบการกำกับดูแลที่ดี บรรษัทภิบาล เป็นต้น ซึ่งต่อมาได้มีการตกลงโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้ใช้คำว่า ระบบการบริหารและการจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาล ซึ่งใช้กับการบริหารจัดการที่ดีในภาครัฐContinue reading "ปรัชญาศึกษา: บทที่ 13 ปรัชญาธรรมาภิบาล"

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 12 ปรัชญาสังคม

เสรีนิยม การดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมว่าเป็นสภาพความเป็นจริงของมนุษย์ทุกกลุ่ม ทุกยุคสมัย เพราะมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพากัน เริ่มต้นกลุ่มเล็กที่สุดคือ ครอบครัว ขยายสู่การเป็นเครือญาติ  เพื่อนบ้าน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พูดภาษาเดียวกัน มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึง มีการสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ในระดับต่าง ๆ การที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันจำเป็นต้องยอมรับแบบแผน กฎเกณฑ์ของกลุ่ม ต้องคำนึงถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพื่อให้การดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างปกติสุข และเกิดความเจริญ ต้องตั้งอยู่บนหลักปรัชญาพื้นฐาน 3 เรื่อง นั่นคือ เสรีภาพ (Liberty / Freedom) เสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity)Continue…

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 11 ปรัชญาการเมือง

บทนำ มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ แต่ก็มีการแบ่งแยกตามความแตกต่างเพื่อให้แสดงอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนเอง และต่างก็หวังให้กลุ่มของตนมีความเจริญรุ่งเรือง (prosperity) หากไม่รุ่งเรืองประชาชนย่อมเป็นทุกข์หรือไม่ หากรุ่งเรืองแล้วสามารถสืบทอดต่อไปเป็นอารยธรรมแก่คนรุ่นถัดไปอย่างไม่สิ้นสุดได้ไหม  การวิเคราะห์เชิงปรัชญาบริสุทธิ์จะเป็นกรอบกระบวนการคิดเชิงจริยศาสตร์ที่สามารถบูรณาการเป็นแนวทางของการสืบทอดความรุ่งเรืองและอารยธรรมของมนุษยชาติได้Continue reading "ปรัชญาศึกษา: บทที่ 11 ปรัชญาการเมือง"

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 10 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาประเทศไทยที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลากว่าเกือบครึ่งศตวรรษนี้ ได้สร้างความเจริญทางวัตถุอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลและขาดการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ทำให้การพัฒนาในส่วนอื่นไม่สามารถก้าวทันความเจริญทางวัตถุContinue reading "ปรัชญาศึกษา: บทที่ 10 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 9 ปรัชญาหลังนวยุค-1

แนวคิดกระบวนทรรศน์หลังนวยุค ปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค  (Post-Modern Philosophy) เป็นกระแสที่ไม่มีขอบเขตเริ่มต้นชัดเจน แต่เป็นการปรับท่าทีต่อการใช้ปรัชญาโดยชี้ว่าปัญหาใหญ่ของโลกเช่น สงครามโลกล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น (attachment) ของผู้ถือปรัชญายุคก่อนหน้าทั้งสิ้นContinue reading "ปรัชญาศึกษา: บทที่ 9 ปรัชญาหลังนวยุค-1"

ปรัชญาศึกษา: บทที่ 8 กระบวนทรรศน์นวยุค

แนวคิดกระบวนทรรศน์นวยุค ปรัชญากระบวนทรรศน์นวยุค (Modern Philosophy) นับเริ่มประมาณ ค.ศ.1600 ทำไมจึงเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ เพราะว่าปรัชญายุคกลางในสมัยอัสสมาจารย์ (scholastic period) ได้นำปรัชญาของ Aristotle มาอธิบายศาสนา ทำให้เกิดการถกปัญหาปรัชญาศาสนาจนถึงระดับอิ่มตัวContinue reading "ปรัชญาศึกษา: บทที่ 8 กระบวนทรรศน์นวยุค"