Philosophical Contemplation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; การเพ่งพินิจ contemplation เริ่มใช้ในราว คริตศตวรรษ 1200 ใช้ contemplacioun (ฝร.) หมายถึง การไตร่ตรอง/การรำพึงทางศาสนา มีรากภาษาละติน (contemplationem) หมายถึง การกระทำของการมอง-การเพ่งพินิจ การจ้องมองอย่างตั้งใจ สังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง โดยทั้งหมดหมายรวมถึง "เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับการสังเกต" มาจาก com+ templum (พื้นที่สำหรับการทำการทำนาย; temple วิหาร) ปลายศตวรรษที่…

Philosophy of Knowledge

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต ... เมื่อกล่าวถึง "ปรัชญาความรู้" ย่อมทำให้ย้อนนึกไปถึงศาสตร์สำคัญคือ ญาณวิทยา (epistemology) ที่เป็นวิชาว่าด้วยความรู้ หรือที่ฝ่ายนักปรัชญาในยุคใหม่เรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (theory of knowledge) สิ่งที่สนใจในวงรอบความคิดนี้ย่อมไม่พ้นขอบเขตการศึกษาของญาณวิทยา ทั้งนี้ย่อมศึกษาผ่านประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของวิชาการความรู้ (science of knowledge) ในฐานะบริบทเชิงมโนทรรศน์ของความรู้ (conceptual context of knowledge) ในแต่ละยุค แต่ละกระบวนทรรศน์ความคิด (paradigm of thought) ซึ่งสรุปลงเป็นแต่ละลัทธิทางปรัชญา โดยขบคิดกันใน 2…

ความมุ่งมั่นของเดการ์ต

เดการ์ต (Rene Descartes, 1596-1650) เติบโตมาในกระบวนทรรศน์ยุคกลาง ได้รับการอบรมโดยนักบวชเยสุอิต (Jesuit) เป็นชาวคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอยู่ตลอดช่วงสงครามศาสนา 30 ปี ระหว่างฝ่ายกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์คาทอลิกและดยุคราชวงศ์บูร์บองโปรเตสแตนต์ Continue reading "ความมุ่งมั่นของเดการ์ต"

ความดี

ทรรศนะของนักปรัชญาตะวันตก เชื่อว่า “ความดี” เป็นเรื่องคุณค่าความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “จริยศาสตร์” เป็นการประเมินค่าความประพฤติของมนุษย์ นักปรัชญาที่เชื่อว่า ความดีมีจริงนั้น มีแนวคิดที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเชื่อว่าความประพฤติเป็นคุณค่าปรนัย (Objective) กล่าวคือ มีจริงในธรรมชาติ และกลุ่มที่สองมีแนวคิดที่เชื่อว่า ความประพฤติเป็นคุณค่าอัตนัย (Subjective) คือ มีอยู่ในความคิดของมนุษย์เท่านั้น Continue reading "ความดี"

fairness

fairness ความถูกต้อง ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ การกระทำที่เป็นความประพฤติย่อมมีเจตนา คือ ชี้แจงได้ว่าเพราะอะไรหรือเพื่ออะไร เจตนาจึงได้แก่ความตั้งใจให้การกระทำเกิดผลตามเป้าหมายนั่นเอง เช่น ขับรถเร็วเพื่ออวดศักดานับเป็นเจตนาเลว ขับรถเร็วเพื่อช่วยชีวิตคนป่วยนับเป็นเจตนา ส่วนมากผลที่ได้จริง ๆ มักจะไม่ตรงกันกับเจตนานัก บางครั้งได้ผลตรงกันข้ามกับเจตนาเสียเลยก็มี เช่น ขับรถเร็วด้วยเจตนาที่จะอวดศักดากลับถึงบ้านเร็ว บังเอิญได้ช่วยชีวิตน้องชาย อีกคนหนึ่งขับรถเร็ว เพื่อนำคนป่วยในขั้นอันตรายส่งโรงพยาบาล บังเอิญรถแฉลบไปชนเสาไฟฟ้าทำให้คนป่วยเสียชีวิต เช่นนี้จะเรียกว่าทำถูกต้องหรือไม่ จะใช้เจตนาหรือผลของการกระทำเป็นมาตรการตัดสินจึงจะถูกต้องเล่า ความถูกต้องอยู่ตรงไหน…

extensionalistic education of philosophy

extensionalistic education of philosophy การศึกษาปรัชญาแบบขยาย ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ ความก้าวหน้าแบบขยาย (extensionalistic progress) เป็นข้อสรุปจากข้อความเชื่อว่าความรู้ของมนุษย์เป็นระบบเครือข่ายที่ตายตัว ดังนั้น การเริ่มรู้คือ การจับประเด็นของความรู้ซึ่งอาจจะเป็นตรงไหนก็ได้ในเครือข่ายที่บังเอิญเริ่มรู้ตรงจุดนั้น ต่อจากนั้นก็จะรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระบบเครือข่ายนั้น ถ้ารู้จริงก็จะรู้ในเครือข่ายเดิมเท่านั้น เพราะไม่มีเครือข่ายอื่นที่มีอยู่จริง ความรู้ใหม่อาจจะเกิดจากบังเอิญรู้จุดอื่น ๆ ของเครือข่าย ซึ่งภายหลังเมื่อใช้สมรรถภาพเหตุผลคิด สักวันหนึ่งจะเข้าใจว่าโยงใยถึงความรู้จุดอื่น…

สัญชาน

เรื่อง : สัญชาน Topic: perception ผู้แต่ง : สุดารัตน์ น้อยแรม ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ ประสบการณ์เป็นสิ่งที่บุคคลรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย ซึ่งเป็นประตูรับรู้ “สิ่งเร้า” ต่าง ๆ ทำให้บุคคลรับรู้รูปภาพ เสียง กลิ่น และสัมผัสทางกาย ความรู้จากประสบการณ์หรือความรู้เชิงประจักษ์จะเกิดขึ้น…