การรู้ประวัติศาสตร์ทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น

ศ.กีรติ บุญเจือ ... การเรียนปรัชญาโดยทั่วๆ ไป มักไม่ลงลึกในประวัติศาสตร์ แต่การรู้ประวัติศาสตร์จะทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น การเรียนปรัชญาจึงมักควบคู่กับการศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับความรู้รอบตัว Continue reading "การรู้ประวัติศาสตร์ทำให้รู้ปรัชญายิ่งขึ้น"

ฐานประวัติศาสตร์สำหรับจริยศาสตร์ยุคใหม่

การสนใจด้านจริยศาสตร์นั้น ต้องตระหนักว่าจะศึกษาอะไรต้องดูความเป็นมาเสียก่อน จริยศาสตร์จึงไม่ใช่เพียงเรียนรู้ตามหลักการ แต่ต้องดูไปถึงประวัติศาสตร์ของแต่ละหลักการด้วย ผ่านฐานประวัติศาสตร์ ฐานประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นส่วนของการศึกษากระแสคิดในแต่ละยุคและแนวทางปฏิบัติในทางจริยธรรมของยุคสมัยนั้นๆ ในกลุ่มคน ชนชาติ ประเทศและดินแดนนั้นๆ Continue reading "ฐานประวัติศาสตร์สำหรับจริยศาสตร์ยุคใหม่"

postmodern history

postmodern history ประวัติศาสตร์หลังนวยุค ผู้แต่ง : เอนก  สุวรรณบัณฑิต ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ Nietzsche (1844-1900) เปิดเผยมุมมองอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจของ ประวัติศาสตร์ว่า “ความเป็นจริงเบื้องหลังประวัติศาสตร์คือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ” ประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นล้วนเป็นการบิดเบือนความเป็นจริงของสังคมและการเมือง เพราะขึ้นกับว่าใครเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์นั้น ๆ  และเลือกที่จะนำเสนอซีกส่วนใดของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ต่อสังคม ผู้มีอำนาจย่อมมีสิทธิ์ที่จะนำเสนอประวัติศาสตร์เท่าที่จะเป็นประโยชน์ในการเสริม เพิ่มพลังอำนาจของตนในการครอบงำผู้อยู่ใต้อำนาจไว้ให้ยอมรับอำนาจของตน ว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรมแล้ว ประวัติศาสตร์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจกระแสหลัก ประวัติศาสตร์ของชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบ ย่อมไม่มีโอกาสได้ถูกบันทึกหรือนำเสนอไว้ เพราะไม่มีโอกาสใด ๆจะนำเสนอได้…

history, the role of

history, the role of บทบาทของประวัติศาสตร์ ผู้แต่ง : กันต์สินี สมิตพันธ์ ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ “ประวัติศาสตร์” ก็คือ เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ อีกอย่างหนึ่งเป็นเพียงเหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักประวัติศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์ คือ ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียนช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษย์ที่กว้างขวางออกไป…

historical data

historical data ข้อมูลประวัติศาสตร์ ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ “ประวัติศาสตร์” ทุกเรื่องเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ถ้าไม่บิดเบือนเลยก็จะไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำประวัติศาสตร์เสียเอง ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่เล่นคำ แต่เรื่องจริงมันมีอยู่ว่าเราทุกคนทำประวัติศาสตร์ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย คือมีพฤติกรรมและทำการที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและสิ่งอื่นตลอดเวลา ล้วนแต่สร้างข้อมูลให้กลายเป็นประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น แต่ส่วนมากสูญหายไปกับกาลเวลา เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ (event) ที่ “สูญหายไปกับประวัติศาสตร์” หมายความว่าในขณะที่เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในชั่วชีวิตของเรากลายเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ เพราะมีคนเก็บเอาไปเขียนในประวัติศาสตร์ ส่วนเหตุการณ์ที่มีเราเกี่ยวข้องด้วยไม่ถูกเก็บไว้ให้ศึกษาในประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีใครสนใจเก็บเอาไว้ จึงสูญหายไปในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ที่จะกลายเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้น…

cast system as philosophy

cast system as philosophy ปรัชญาการแบ่งวรรณะ ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ ชมพูทวีปหมายถึงดินแดนซึ่งปัจจุบันได้แก่อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฐาน ประเทศเหล่านี้ มีพื้นเพวัฒนธรรมดั้งเดิมร่วมกันจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมลุ่มแม่น้ำสินธุกับวัฒนธรรมอารยันที่บุกรุกมาจากทางเหนือ จากการผสมผสานนี้เกิดการประนีประนอมระหว่างปัญญากับสัญชาตญาณออกมา เป็นการจัดระบบสังคมโดยการแบ่งวรรณะ ซึ่งจากเดิม 4 วรรณะแตกแขนงออกเป็นเรือนพันในปัจจุบัน การจัดสังคมเป็นวรรณะทำให้สังคมชมพูทวีปเกาะกลุ่มกันแน่นแฟ้นมั่นคงเป็นเวลาหลายพันปี จนกว่าจะมีการท้วงติงตั้งคำถามว่า มีการถือโอกาสเอาเปรียบกันอย่างอยุติธรรมในระบบดังกล่าวนี้หรือไม่ ปัญหานี้กลายเป็นสาเหตุแห่งการแตกแยกรุนแรงในหมู่ชาวชมพูทวีปมาจนทุกวันนี้…

Augustine on philosophy of history

Augustine on philosophy of history ปรัชญาประวัติศาสตร์ของออเกิสทีน ผู้แต่ง : กันต์สินี สมิตพันธ์ ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ ประวัติศาสตร์คือ บทบาทของมนุษยชาติ นักประวัติศาสตร์ก่อนหน้าเคยเขียนแต่ประวัติศาสตร์ของชาติของตน เช่น ประวัติศาสตร์กรีก ประวัติศาสตร์โรมัน ประวัติศาสตร์เปอร์เซีย ประวัติศาสตร์จีน ฯลฯ หากจะพูดถึงชาติอื่นก็จะพูดถึงในฐานนะตัวประกอบเรื่อง แต่ละชาติจะเขียนประวัติศาสตร์ให้ชาติของตนเป็นศูนย์กลางของบทบาท ออเกิสทีนเป็นคนแรกที่คิดว่าประวัติศาสตร์คือ บทบาทของมนุษยชาติแต่ละชาติต่างก็มีบทบาทของตนในบทบาทรวม ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ที่ดีทั้งหลาย แม้จะเขียนประวัติศาสตร์ของชาติใดชาติหนึ่ง ก็ย่อมต้องคำนึงว่าชาตินั้นๆ…