Aesthetical Elements

ศ.กีรติ บุญเจือ... ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ความงามและสุนทรียธาตุอื่นๆ มิใช่เป็นคุณสมบัติของศิลปกรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติได้ด้วย เช่น พระอาทิตย์ตก ในที่บางแห่งอาจจะงามและน่าทึ่งอย่างมาก การถกปัญหาเรื่องสุนทรียธาตุในปรัชญากินความรวมถึงสุนทรียธาตุในทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ถือว่ามีสุนทรียธาตุได้ ไม่ว่าจะเป็นความงามตามธรรมชาติ (natural beauty) หรือความงามในศิลปกรรม (artistical beauty) ความน่าเกลียดน่ากลัวในจินตนาการ ความน่าทึ่งในศรัทธาต่อคาสอนของศาสนา ฯลฯ ล้วนเป็นสุนทรียธาตุทั้งสิ้น ลัทธิอัตนัยนิยม (subjectivism) ลัทธิอัตนัยนิยมมีความเห็นว่าสุนทรียธาตุมิได้มีจริงๆ แต่มนุษย์เรากำหนดกันขึ้นมาเอง มาตรการตัดสินสุนทรียธาตุจึงไม่ตายตัว แล้วแต่ว่าคนใดจะมีรสนิยมอย่างไรก็กำหนดเอาอย่างนั้น ผู้ที่มีความคิดเห็นเช่นนี้รุ่นแรกเท่าที่เราทราบ ได้แก่ ชาวโซฟิสท์ในยุคกรีกโบราณ…

ปรัชญาศิลปะ

ศ.กีรติ บุญเจือ... ปรัชญาศิลปะนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาสุนทรียศาสตร์ แต่ถ้ามองจากมุมมองของนิยามที่เหนือขึ้นไปอีกของปรัชญาประยุกต์ซึ่งถือเอาผลสรุปของความรู้ต่าง ๆ มาคิดต่อยอดอย่างปรัชญา ปรัชญาศิลปะจึงเป็นการนำเอาสุนทรียศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทั้งหมด ได้แก่ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วิจารณ์ศิลปะ ทฤษฎีศิลปะ จิตวิทยาศิลปะ สังคมวิทยาศิลปะ มาเป็นข้อมูล พยายามค้นหาคำถามที่อาจจะมีได้จากข้อมูลเหล่านั้น แล้วตีความปัญหาดังกล่าวด้วยระบบปรัชญาบริสุทธ์เท่าที่เราทราบหรือสนใจ สุนทรียศาสตร์จึงเป็นฐานรองรับปรัชญาศิลปะนั่นเอง Continue reading "ปรัชญาศิลปะ"

diversity in unity

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต เมื่อปรารถถึงความเป็นจริงของโลกในทางปรัชญามีหลักการ 2 อย่างที่มักจะเข้าใจว่าเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกัน นั่นคือ เอกภาพในความหลากหลาย (unity in diversity) และ ความหลากหลายในเอกภาพ (diversity in unity) ซึ่งกระแสของโลกปัจจุบันมุ่งไปที่เอกภาพในความหลากหลาย ด้วยเห็นว่า ความเป็นจริงต่างๆ ของโลกและสังคมโลกปรากฎความหลากหลาย จึงต้องกำกับหรือเน้นย้ำความเป็นเอกภาพเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างจนนำไปสู่ความขัดแย้ง Continue reading "diversity in unity"

การเรียนรู้ความดีงามของไทย

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว การเรียนรู้ในขั้นเบื้องต้นเป็นการเรียนรู้ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงเพื่อใช้ในการสื่อสารตามรูปแบบของตัวอักษรที่ใช้เป็นสิ่งแทนสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องการสื่อความหมายที่ต้องการเรียนรู้หรืออยากรู้  รวมทั้งความเชื่อในการเรียนรู้ที่ถูกอบรมสั่งสอนให้รู้  รูปแบบของการประสมตัวอักษรแทนระบบการใช้เสียง ทั้งที่เป็นคำ เป็นประโยค การใช้ประโยค การใช้ภาษา การอ่านออกเสียง ความรู้ที่ได้คือตัวอักษรภาษาไทย และใช้ตัวอักษรเป็นสื่อในการเรียนรู้สิ่งที่ต้องการรู้ในโอกาสต่อไป ทำให้เกิดมีความคิดในใจว่าอยากเรียนวิชาที่เป็นหัวใจของวิชาทั้งหมด เพื่อจะได้รู้สิ่งที่สามารถแทนวิชาความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างไม่รู้จบในสิ่งที่ต้องการอยากรู้และอยากเรียนรู้  นอกจากนั้นได้เรียนรู้เรื่องความดีตามแนวทางพระพุทธศาสนา และรวมทั้งเรียนรู้เรื่องความงามที่เกิดจากการวาดภาพและความไพเราะของคำกลอนจากการท่องจำบทอาขยานContinue reading "การเรียนรู้ความดีงามของไทย"

แนวคิดที่เกี่ยวกับความดีและความงามตามบริบทวัฒนธรรมไทย

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว ... แนวคิดที่เกี่ยวกับความดีและความงามตามบริบทวัฒนธรรมไทย แนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย                 วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากอารยธรรมอินเดียสองแนวคิด คือ แนวคิดที่มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และแนวคิดที่มาจากพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้มีดังนี้Continue reading "แนวคิดที่เกี่ยวกับความดีและความงามตามบริบทวัฒนธรรมไทย"

ความดีงามกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง

หากยอมรับว่า มนุษย์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วน คือ กายและจิต ความสุขแท้ตามความเป็นจริงของมนุษย์มีทรรศนะที่แตกต่างกัน  สำหรับบริบทวัฒนธรรมไทย ความดีงามที่ให้ความสุขแก่ชีวิต ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา ความสุขหรือประโยชน์ในการกระทำความดี มี 3 ประการ คือ ประโยชน์ขั้นตาเห็น ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น และประโยชน์ขั้นจุดหมายสูงสุด Continue reading "ความดีงามกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง"

ความงามในทรรศนะนักปรัชญาตะวันตก

ความงามในทรรศนะนักปรัชญาตะวันตก ปัญหาเรื่อง “ความงาม” เป็นปัญหาเชิงคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetical value) ได้แก่ ระดับของการประเมินค่าวัตถุว่า มีค่าทางด้านจิตใจอยู่มากน้อยเพียงใด โดยตัดสินว่า สวย (beautiful) งาม (pretty) น่าเกลียด (ugly) น่าศรัทธา (sublime) น่าทึ่ง แปลกหูแปลกตา (picturesqueness) Continue reading "ความงามในทรรศนะนักปรัชญาตะวันตก"