Who is under skeptic

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต วิมตินิยม (Skepticism) เป็นทัศนคติที่ตั้งคำถามหรือข้อกังขา (doubt) ต่อการกล่าวอ้างทางความรู้ที่ถือว่าเป็นเพียงความเชื่อ (belief) หรือหลักคำสอน (dogma) ทั้งนี้ skept มีความหมายว่า ค้นหา สืบค้นหา มองหา จึงหมายถึงผู้ที่ค้นหาความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ชาววิมตินิยมมักจะแสดงตนผ่านทัศนคติเชิงลบ (negative attitude) ต่อคำกล่าวอ้าง ความเชื่อและคำสอนของสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานของรัฐ (governance claims) ในเรื่องต่าง โดยจะสงสัยว่าคำกล่าวอ้างเหล่านี้ถูกต้อง (accuracy)…

ว่าด้วยพระอินทร์

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน การตีความแบบหลังนวยุค (hermeneutics according to postmodern approaches) ชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างของความเป็นจริงที่อยู่ใกล้ตัว จึงมองคำบนฐานคำ ซึ่ง “พระอินทร์” เป็นคำในภาษาอารยันมุ่งเน้นการเข้าใจบนฐานไวยากรณ์ภาษาอารยัน อันได้แก่ ภาษาศึกษิต Continue reading "ว่าด้วยพระอินทร์"

การตีความด้วยครอบฟ้าวัฒนธรรม

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว ... การตีความ "คำ" ด้วยข้อมูลเชิงวัฒนธรรมนำไปสู่การสรุปตามความเข้าใจของผู้ตีความ เป็นครอบฟ้าความรู้ของผู้ตีความ  ถ้าการตีความคลาดเคลื่อนก็จะนำไปสู่การสรุปเพื่อเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปด้วย ข้อมูลส่วนย่อยที่นำใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางความคิดจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการสืบค้นข้อมูลที่สอดคล้องกับทรรศนะของเกิทช์ (Clifford J Geertz, 1926-2006) ที่กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นสัญญะชุดหนึ่งที่กำหนดกรอบชีวิตที่สังคมนั้นพอใจร่วมกัน ดังนั้น การตีความใดๆ จึงเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม จึงเป็นการตีความสัญญะที่ถูกสื่อความหมายไว้กับสิ่งนั้น ดังนั้น ข้อมูลส่วนย่อยของวัฒนธรรมที่นำมากล่าวไว้จึงเป็นเสมือนครรลองทางความคิดที่นำไปสู่กรอบความคิดที่อยู่เบื้องหลังของความคิดดังกล่าว เพราะภาษาไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลเสมอไป ซึ่งความคิดและความเข้าใจไม่จำเป็นต้องอยู่ในขอบข่ายของเหตุผลทุกครั้งเช่นกันContinue reading "การตีความด้วยครอบฟ้าวัฒนธรรม"

ปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู

แนวคิดจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยโบราณ เรียกว่า “สนาตนธรรม” ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ในสมัยต่อมาเรียกว่า “ไวทิกธรรม” คือธรรมที่ได้มาจากพระเวท ซึ่งหมายถึงคำสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า ต่อมาจึงเรียกว่า “พราหมณธรรม” ซึ่งแปลว่าคำสั่งสอนของพราหมณ์ ต่อมาเรียกชื่อใหม่ว่า “หินทูธรรม” ซึ่งแปลตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันตกฤต แปลว่า “ผู้ละเว้นหิงสากรรม” คือ อหิงสก “หินทูธรรม” หรือ “ฮินดูธรรม” จึงแปลว่า ธรรมะที่สอนลัทธิอหิงสา Continue reading "ปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู"

ฮันทิงทันกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแผนใหม่

เหตุการณ์ที่สร้างความระทึกใจแก่คนทั้งโลกไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการถล่มเมืองฮิโรชิมาด้วยระเบิดปรมาณู เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ก็คือการที่กำแพงเบอร์ลินถูกเจาะทะลุโดยไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2532 (ค.ศ.1989) คือ 44 ปีต่อมา อันถือได้ว่า เป็นวันสิ้นสุดสงครามเย็นที่สร้างความหวาดผวาแก่คนทั้งโลกที่มีอารมณ์ค้างแขวนอยู่บนเส้นด้ายว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 จะระเบิดขึ้น ณ วินาทีใดก็ได้ เพราะถ้าสงครามดังกล่าวเกิดขึ้นจริงวันนั้นก็จะเป็นจุดจบของมนุษยชาติ เพราะผู้ที่อยู่ในข่ายของความขัดแย้ง รู้สึกมั่นใจว่า ตนจะต้องสูญเสียชีวิตไปพร้อมกับคนดีและสิ่งดีทั้งหลายที่อารยธรรมของมนุษยชาติได้สะสมมา การที่ต้องรอความตายฉับพลันโดยไม่รู้วันและเวลาอย่างนี้ ย่อมสร้างความเครียดแก่คนทั่วโลกไม่มากก็น้อย มีการจัดปาฐกถากันบ่อย ๆ…

อรรถปริวรรต

อรรถปริวรรต คำสันกฤต อรฺถ คำมคธ อตฺถ แปลว่า เนื้อความ รวมกับคำสันสกฤต ปริวรรต และมคธ ปริวัตฺต แปลว่า หมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป แปรไป รวมกันเป็นอรรถปริวรรต จึงแปลได้ว่า การแปรเนื้อหาจากความหมายตามตัวอักษร เป็นความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ร่วมกัน Continue reading "อรรถปริวรรต"

Medieval Philosophy horizon

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต : ปรัชญาและจริยศาสตร์ยุคกลาง มักเข้าใจว่าเน้นการศึกษาปรัชญาศาสนา  ซึ่ง ศ.กีรติ บุญเจือ ได้เสนอไว้ในหนังสือ "ปรัชญาและจริยศาสตร์ยุคกลาง" ว่าจุดเน้นของยุคกลาง คือ "จะประนีประนอมระหว่างปรัชญากรีกกับศาสนาได้อย่างไร" ยุคกลางเน้นการสอนเกี่ยวกับศาสนา โดยสอนเกี่ยวกับ Cosmogony จักรวาลวิทยา (กำเนิดโลกและชีวิต) ในมุมมองของแต่ละศาสนาและตำนานปรำปรา การศึกษาปรัชญายุคกลางจะต้องมององค์รวมอย่างสัมพันธ์กันไม่แยกส่วน  จะพบว่ามีเพียงจักวาลวิทยาของศาสนาพุทธที่จุดกำเนิด ไม่ระบุผู้สร้าง ไม่ระบุที่มาของโลก (world) จักรวาล ผืนน้ำ สัต เหมือนศาสนาอื่นๆ ที่มีผู้สร้าง (creator)…