มาตรการความประพฤติ

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน; ในปัจจุบัน ผู้คนเกิดภาวะที่แยะแยะไม่ได้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับจริยศาสตร์ตามความเข้าใจของอริสโตเติล อย่างไรก็ตาม การจะแยกแยะได้ชัดเจนหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจมาตรการความประพฤติ (conduct) เสียก่อน ว่าจะมองผ่านเกณฑ์รับรองอย่างไร มาตรการความประพฤติ มี 2 แนวทางคือ ลัทธิอัตนัยนิยม (Subjectivism) ถือว่าไม่มีมาตรการตายตัวแน่นอน มาตรการที่มีขึ้นมานั้นมนุษย์กำหนดกันขึ้นเองด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน แล้วพยายามชักชวนให้คนทั่วไปเชื่อว่าเป็นมาตรการตายตัวสำหรับมนุษย์ทุกคน บางระบบก็มีคนเชื่อมาก บางระบบก็มีคนเชื่อน้อย แล้วแต่ว่าจะสามารถปลูกฝังศรัทธาได้เพียงไร ลัทธิปรนัยนิยม (Objectivism) ถือว่ามาตรการความประพฤติมีแน่นอนตายตัว…

ปรัชญาและจริยศาสตร์ในประเทศไทย

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต: ปรัชญาและจริยธรรมในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจมีมุมมองบางประการที่สามารถใช้เพื่อความเข้าใจร่วมกันได้ ได้แก่ Continue reading "ปรัชญาและจริยศาสตร์ในประเทศไทย"

Self-Cultivation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต การพัฒนาจิตใจหรือความสามารถของตนเองโดยอาศัยความพยายามของตนเองเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับมนุษยชาติ การบ่มเพาะปลูกฝังตนเอง (การอบรมบ่มนิสัย) คือ การฝึกฝน (practice/apprentice) การบูรณาการทุกสิ่งจนเป็นหนึ่งเดียว (integration) และการประสานกัน (congruence) ของจิตใจและร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้ได้ถูกทบทวนเพื่อการใช้ช่วยเหลือแนะนำผู้มีปัญหาในบุคลิกภาพและจิตใจ ผู้ที่รู้สึกว่าตนแปลกแยกแตกต่างจากผู้อื่น เพื่อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองจริง ๆ (real self) Continue reading "Self-Cultivation"

คุณค่าทางจริยศาสตร์

พ.อ. ดร.ไชยเดช แก่นแก้ว การศึกษาเรื่องคุณค่าทางจริยศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทำของมนุษย์นั้น สามารถพิจารณาตามขอบเขตของจริยศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาคำตอบใน 3 ประเด็นนี้ คือ 1.   คุณค่าการกระทำของมนุษย์ คือ การศึกษาว่าคุณค่ามาจากไหน และมีความสำคัญอย่างไร คุณค่าการกระทำ ความประพฤติ พฤติกรรมของมนุษย์ที่ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ควร/ไม่ควร เป็นแบบใด ดีชั่ว ถูกผิดคืออะไร สามารถนิยามได้หรือไม่ ถ้านิยามได้จะนิยามว่าอย่างไร ความดี ความชั่วมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม และถ้าหากความดีชั่ว ถูกผิดมีอยู่จริงแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร Continue reading…

การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

ดร.พจนา มาโนช: การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเป็นวาระสำคัญของประเทศ โดยมีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้ครอบคลุมทั้งด้านหลักการคิด และวิธีการปฎิบัติที่ดีงาม ถูกต้อง ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม มุ่งเน้นในการพัฒนาลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเป็นคนดีและคนเก่ง การสอน  "คุณธรรม/จริยธรรม"  เป็นความต้องการที่คนรุ่นหนึ่งจะชี้นำคนอีกรุ่นหนึ่ง  โดยผู้สอนมีความเชื่อว่าประสบการณ์ของตนอาจสร้างความเข้าใจเรื่อง  คุณธรรม/จริยธรรม  (หรือความดี  ความถูกต้อง  ความเหมาะสม)  อย่างถ่องแท้ในระดับหนึ่งและต้องการให้เยาวชนเชื่อ โดยมองว่าดีและเหมาะสมกับเยาวชน การยึดหลักคุณธรรม/จริยธรรม จะทำให้มนุษย์มีความสุข โดยที่ความสุขนั้นควรเป็นความสุขแบบเรียบง่ายและยั่งยืน Continue reading "การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม"

การพัฒนาตนบนฐานปรัชญาพุทธ

พ.อ. ดร. ไชยเดช แก่นแก้ว การพัฒนาคุณภาพชีวิตมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตามปรัชญาพุทธ ทั้งนี้ แนวความคิดการดำรงชีวิตในวิถีพุทธสำหรับปุถุชนเน้น 1) การมองเข้ามาในตัวตนอย่างใคร่ครวญตามหลักปฏิจจสมุปบาท และ 2) มองออกนอกตัวตนเพื่อทำความเข้าใจบุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือทิศหก และสังคมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ Continue reading "การพัฒนาตนบนฐานปรัชญาพุทธ"

ค่านิยมกับการเลี้ยงดูโดยครอบครัว

ดร.พจนา มาโนช ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์ การเริ่มต้นของครอบครัวที่ต้องดิ้นรนในระยะก่อร่างสร้างตระกูล ต้นตระกูลถือเป็นครูคนสำคัญ การสอนเน้นให้ลูกหลานทำมาหากินเพื่อจะได้ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เพื่อครอบครัวเป็นหลักเป็นฐาน ไม่ให้เลือกงานเพราะต้องเรียนรู้งานได้ทุกอย่าง หากตั้งใจจริง เป็นงานอะไรก็ได้ งานที่สุจริต งานที่ไม่ต้องแบมือขอเงินจากคนอื่น การปลูกฝังค่านิยมความขยันและการมีอุดมการณ์รับผิดชอบในการทำงานอย่างไม่ท้อถอย มีทรรศนะว่าทุก ๆ ปัญหาต้อมีทางออก การใช้ปัญญาคิดและวิเคราะห์ปัญหาก็จะพบทางออกทางใดทางหนึ่งเสมอ Continue reading "ค่านิยมกับการเลี้ยงดูโดยครอบครัว"