syllogism

syllogism รูปนิรนัย ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ   รูปนิรนัย (Syllogism) คือ การแสดงออกของการอ้างเหตุผลอย่างตรงๆ องค์ประกอบ ต้องมี 3 ประโยคตรรกวิทยา โดยมี 3 เทอม แต่ละเทอมใช้ 2 ครั้ง ตัวอย่าง คนทุกคน              เป็น        มรรตัย  …

Stereotyping

Stereotyping อ้างพวก ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ภาษาที่ใช้กันโดยทั่วไปมักจะมีการอ้างพวกอยู่บ่อยๆ ผู้พูดและผู้ฟังมักจะเข้าใจกันคนละทาง คือ ผู้พูดมักจะเข้าใจว่าตนหมายถึงส่วนมาก หรือ หมายถึงว่าเป็นจุดเด่น แต่ผู้ฟังมักจะเข้าใจว่าทั้งหมดอยู่เสมอ ถ้าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังก็ไม่เป็นไร ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังคิดว่าเกี่ยวข้องกับตน ก็มักจะมีเรื่อง เช่น เวลาเราพูด “พวกนิโกร” เราเข้าใจดีว่าเราหมายถึงบางคน ถ้ามีใครมาแย้งคำพูดของเรา เราก็มักจะแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนว่าเราไม่ได้หมายถึงทุกคน แต่เราได้ยินคนต่างชาติอ้างถึง “พวกคนไทย” จะแก้ตัวอย่างไร เราก็เข้าใจอยู่เสมอว่าหมายถึงทุกคนรวมทั้งเราด้วย…

sorites

sorites อุปนัยซ้อน ผู้แต่ง : รวิช  ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ รูปนิรนัยซ้อน (sorites) คือ รูปนิรนัยที่ซ้อนกันหลายชั้น โดยมีการอ้างเหตุผลต่อเนื่องกันหลายครั้ง มีกฎเกณฑ์กำหนดให้รู้ได้แน่นอนลงไปว่าซ้อนอย่างไรจึงจะสมเหตุสมผล ถ้าผิดแบบแผนก็ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากการซ้อนมีได้ 2 อย่าง คือ ซ้อนโดยไล่เรียงจากวงแคบไปหาวงกว้าง เรียกตามนามของผู้พบกฎว่า รูปนิรนัยของอริสโตเติล (Aristotelian sorites) และซ้อนโดยไล่เรียงจากกว้างมาหาแคบเรียกว่า รูปนิรนัยซ้อนของโกเคลน (Goclenian sorites)…

reason in philosophy

reason in philosophy เหตุผลในปรัชญา ผู้แต่ง : เอนก  สุวรรณบัณฑิต ผู้ปรับแก้ :  กีรติ  บุญเจือ ปรัชญาสมัยเหตุผล (1600-1750) เป็นระยะกึ่งทางของปรัชญายุคใหม่ คืออยู่หลังปรัชญาสมัยฟื้นฟูและอยู่ก่อนหน้าปรัชญาสมัยพุทธิปัญญา สมัยเหตุผลจึงเป็นสมัยที่การฟื้นฟูวัฒนธรรมกรีกอิ่มตัวแล้ว  ไม่รู้จะฟื้นฟูอะไรขึ้นมาอีกแล้ว  และที่ฟื้นฟูขึ้นมาใช้แล้วก็ได้ผลไม่ถึงขั้นน่าพอใจ  แต่กลับทิ้งปัญหาไว้ให้แก้ไขมากมาย ทั้งในด้านศาสนา  การเมือง  ปรัชญา  และวัฒนธรรม  ปัญหาที่ร้ายแรงและรุนแรงในทุกด้านคือการแตกแยก มีการแตกแยกกันอย่างรุนแรง  ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ คนจำนวนมากถือโอกาสปฏิบัติการรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา  แต่ก็ยิ่งเพิ่มปัญหามากขึ้น นักปราชญ์โดยทั่วไปในสมัยเหตุผลจึงเห็นเป็นปัญหาต้องแก้ไขอย่างรีบด่วน …

Leibniz, Gottfried Wilhelm

Leibniz, Gottfried Wilhelm ไลบ์นิซ ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ Gottfried Wilhelm Leibniz ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz 1646-1716) เป็นชาวเยอรมัน ชอบอ่านหนังสือปรัชญา กรีก และละตินตั้งแต่อายุ 13 ขวบ เข้ามหาวิทยาลัยอายุ 15 ปีเรียนปรัชญา คณิตศาสตร์…

division

division แยกหมู่ ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ การแยกหมู่ตรงกันข้ามกับการรวมหมู่ คือ เมื่อเรารู้จักลักษณะรวมกันทั้งหมู่มาอย่างดี เราจะอนุมานลักษณะของหน่วยย่อยทันทีหาได้ไม่ นอกจากเราจะรู้หน่วยนั้นเองโดยเฉพาะ ตัวอย่าง “ทีมฟุตบอลของเราชนะเลิศ เพราะฉะนั้นนายชาตรีซึ่งเป็นผู้รักษาประตูของเราต้องเก่งมาก” ค วามจริงอาจจะเป็นได้ว่า ฟุตบอลไม่เคยเยี่ยมกรายมาถึงหน้าประตูของนายชาตรีเลย เพราะคนอื่นปฏิบัติหน้าที่อย่างดีกันทุกคน ฟุตบอลอยู่ในแดนฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา จึงไม่อาจรู้ได้ว่านายชาตรีเก่งจริง ๆ หรือไม่ “ไหนเธอรู้ภาษาอังกฤษดี ช่วยบอกหน่อยซิว่าคำ megalocephalic แปลว่าอะไร”…

correspondence theory

correspondence theory ทฤษฎีสมนัย ผู้แต่ง : ศุภชัย ศรีศิริรุ่ง ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ ทฤษฎีที่เชื่อว่าประสบการณ์ทุกอย่างมีความเป็นจริงตอบสนอง แต่ก็มีปัญหามากเช่น 1) ประสบการณ์ของทุกคนตรงกันหรือไม่ แม้จะพูดออกมาได้ตรงกัน 2) ที่พูดออกมาไม่ตรงกันนั้น เป็นเพราะความสามารถบรรยายไม่เหมือนกันหรือเป็นเพราะว่ามีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน 3) คนคนเดียวกันแสดงความรู้ได้ต่างกันหากมีเครื่องมือช่วยมากน้อยต่างกัน เช่น พื้นกระดานใสเรียบ ดูด้วยตาเปล่ากับดูด้วยกล้องขยายจะเห็นต่างกัน และกล้องที่ขยายน้อย ๆ และมากขึ้น ๆ ตามลำดับ ก็แสดงประสบการณ์ทางตาต่างกันต่อพื้นกระดานเรียบแผ่นเดียวกัน…