พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย

ดร. อุบาสิกา ณัฐสุดา เชี่ยวเวช พรหมจรรย์ คำนี้มีหลายนัย จึงเข้าใจแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจอย่างรอบด้าน จึงต้องใช้กระบวนการตีความตามตัวอักษร ก็จะแปลว่า ความประพฤติประเสริฐ แต่เมื่อตีความโดยบริบทของคำแล้ว พบว่า ความหมายของ “พรหมจรรย์” มีหลายอย่าง ในพระไตรปิฎกได้จำแนกพรหมจรรย์ไว้ 13 ประการ เท่าที่สืบค้นได้ Continue reading "พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย"

ศาสนานี่แหละที่จะช่วยให้ตนพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

ดร.ใจกลั่น นาวาบุญนิยม แนวแนวทางว่า ศาสนาจะช่วยให้พ้นทุกข์ ย่อมปรากฎในชีวิตที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวัดโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นวันพระ  หรือวันสำคัญทางศาสนา นอกจากการไปวัดเป็นประจำ ถือศีล 5  หลายคนย่อมถือศีลห้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ และรู้สึกว่าทำได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ต่อมาย่อมเริ่มรู้จักการทำสมาธิ ยิ่งรู้สึกว่าชอบ ก็จะเข้าใจว่าย่อมจะทำให้ตนเกิดปัญญา ได้ชีวิตที่มีความสุข มีความสงบและความสุขในการนั่งสมาธิ Continue reading "ศาสนานี่แหละที่จะช่วยให้ตนพ้นทุกข์อย่างแท้จริง"

การรับรู้บทบาทเทวราชแบบพระอินทร์

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน ความเป็นพระอินทร์ของระบบเทวราช สะท้อนออกมาเป็นสถาบันกษัตริย์ที่จะต้องมีกรณียกิจที่แสดงออกในฐานะผู้ดูแลและผู้ให้ที่สำคัญ โดยมีการชี้ขยายในทางพระพุทธศาสนาถึงคุณธรรมของพระอินทร์ โดยนำมาจากคุณธรรมที่ปฏิบัติแล้วจึงมีอานิสงฆ์ได้เกิดเป็นพระอินทร์ (ทีฆนิกาย มหาวรรค) ได้แก่ วัตตบท 7 กษัตริย์จะต้องมีจริยวัตรทั้ง 7 นี้ด้วย และเมื่อยกเลิกกฎมณเทียรบาลในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ทำให้ประชาชนใกล้ชิดกับกษัตริย์ยิ่งขึ้น คุณธรรมทั้ง 7 นี้ก็เป็นสิ่งที่กล่าวถึงในฐานะพระจริยวัตรอันงดงามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมาโดยตลอดทุกพระองค์ คตินิยมอีกอย่างหนึ่งคือ คติพระโพธิสัตว์ โดยมองว่าพระอินทร์เป็นพระโพธิสัตว์เจ้า จึงทรงบำเพ็ญบารมีดูแลช่วยเหลือโลก ดังนั้น กษัตริย์จึงทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ลงมาบำเพ็ญบารมี ช่วยเหลือประชาชน เป็นผู้ให้สูงสุด ด้วยเช่นเดียวกัน…

ว่าด้วย “มหายาน”

บรรพตี รำพึงนิตย์ …ศศ.ม. ปรัชญาและจริยศาสตร์ พุทธศาสนามหายานมีคณาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณ เช่น คุรุนาคารชุน (พ.ศ.693-793) ท่านเป็นผู้สร้างปรัชญามหายานนิกายศูนยวาท (คำสอนเป็นศูนย์กลาง) หรือมาธยมิกะ (ทางสายกลาง) โดยใช้ระบบวิภาษวิธี (Dialectics) ในการอธิบายทฤษฏีความสัมพันธ์ของสาเหตุ-ผล (cause-effect relationship) หรือปฏิจจสมุปบาท (dependent origination) ระบบวิภาษวิธีของนิกายศูนยวาท เป็นศาสตร์ในการอภิปราย/อธิบายด้วยหลักตรรกวิทยา (reasoning เหตุผล) Continue reading "ว่าด้วย “มหายาน”"

การรักษาศีลตามปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลาง

ดร.อุบาสิกา ณัฐสุดา เชี่ยวเวช ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์ การรักษาศีล 8 ตีความด้วยปรัชญากระบวนทรรศ์ยุคกลาง มีความสมเหตุสมผลที่พึงพิจารณาด้วยแยบคาย ได้แก่ ศีล 8 เป็นเรื่องของศาสนาและเป็นข้อประพฤติของผู้รักษาพรหมจรรย์คือ ตัดแล้วซึ่งความสุขในโลกนี้ โดยมุ่งโลกหน้า มีพรหมโลกขึ้นไป Continue reading "การรักษาศีลตามปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลาง"

ว่าด้วย วัชรยาน

บรรพตี รำพึงนิตย์ ...ศศ.ม. ปรัชญาและจริยศาสตร์ สภาพสังคมในปัจจุบันมีแต่การแก่งแย่งแข่งขัน การทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งในหน้าที่การงาน การสร้างฐานะ การพยายามเป็นที่ยอมรับของสังคม หากจิตใจตกต่ำก็จะไม่สามารถเอาตัวรอดจากกระแสความคิดเหล่านี้ได้ แต่ถ้าบุคคลใดมีจิตใจที่เข้มแข็งย่อมผ่านพ้นทุกปัญหาไปได้ ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีสติมีวิจารณญาณ ผู้มีปัญญาจึงมุ่งแสวงหาแนวทางรับมือความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ โดยมีทรรศนะว่า การป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าแก้ไขภายหลัง จึงสนใจประเด็นไปที่การพัฒนาทุกมิติและครอบคลุมถึงมิติทางจิตวิญญาณ Continue reading "ว่าด้วย วัชรยาน"

ภววิทยาของปัญหาในศาสนาพุทธของประเทศไทย

ผศ.(พิเศษ). ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต การมองเห็นปัญหาที่ผู้อื่นมองไม่เห็น และการแสวงหาคำตอบเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นคำตอบใหม่หรือคำตอบเก่าแต่แสดงเหตุผลดีกว่าเดิม หรือต่างไปจากเดิม ถือเป็นหน้าที่อย่างสำคัญของผู้สนใจปรัชญาจนถึงระดับนักปรัชญา กระนั้น การเข้าใจปัญหานั้นจะต้องมองสถานภาพ (status) ของปัญหาให้ชัดเจน มองเห็นสารัตถะ (essence) หรือแก่นแท้ภายในของปัญหา และมองลักษณะปรากฎ (character) ของปัญหานั้น ซึ่งได้มีการแนะนำวิธีไว้หลายอย่าง เช่น อุปมานิท้ศน์ การแขวนความหมาย การทำใจเป็นกลาง และปรากฎการณ์วิทยา ซึ่งวิธีเหล่านี้ล้วนมุ่งไปสู่การมองสิ่งที่เป็นปัญหานั้นในระดับภววิทยา (ontological perspective) เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริงอย่างที่ปรากฎ Continue reading…