Who is under skeptic

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต วิมตินิยม (Skepticism) เป็นทัศนคติที่ตั้งคำถามหรือข้อกังขา (doubt) ต่อการกล่าวอ้างทางความรู้ที่ถือว่าเป็นเพียงความเชื่อ (belief) หรือหลักคำสอน (dogma) ทั้งนี้ skept มีความหมายว่า ค้นหา สืบค้นหา มองหา จึงหมายถึงผู้ที่ค้นหาความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ชาววิมตินิยมมักจะแสดงตนผ่านทัศนคติเชิงลบ (negative attitude) ต่อคำกล่าวอ้าง ความเชื่อและคำสอนของสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานของรัฐ (governance claims) ในเรื่องต่าง โดยจะสงสัยว่าคำกล่าวอ้างเหล่านี้ถูกต้อง (accuracy)…

Equanimity

อัศวิน ฉิมตะวัน (นักศึกษา ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์) Asawin Chimtawan (Ph.D. student in Philosophy and Ethics) .. .. เมื่อย้อนอ่านและพิจารณาแนวคิด การวางใจเป็นกลาง (Equanimity) ในปรัชญา ก็ย่อมต้องย้อนอ่านจากกระบวนทรรศน์โบราณซึ่งมีความเชื่อว่าโลกมีกฎเกณฑ์ เป็นเอกภพที่มีระบบระเบียบที่ชัดเจน  ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีกฎเกณฑ์ของมัน  เป็นอยู่ซ้ำ ๆ การเข้าถึงกฎเกณฑ์จะทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิตที่ดีได้   .. when re-read and re-considering the…

การใช้ภาษา: มุมมองเชิงปรัชญา

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน ในศตวรรษที่ 19 ลุดวิก วิทเกินชทายน์ (Ludwig Wittgenstein) ได้ปรับแนวคิดทางปรัชญาด้วยท่าที่ว่า ปรัชญาบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาจากความเป็นจริงมีอยู่ในสภาพธรรมชาติและอยู่เรื่อย ๆ อย่างนั้นเอง เราได้เข้าใจความเป็นจริงนั้นเป็นส่วน ๆ โดยมีไวยากรณ์ความคิด (Grammar of Concept) เป็นเครื่องมือ ต่างคนต่างมีไวยากรณ์ผิดเพี้ยนกันไปในแต่ละคน แต่คนกลุ่มเดียวก็มักมีไวยากรณ์ความคิดคล้าย ๆ กัน ส่วนที่คล้ายกันนั้นคือ ไวยากรณ์สังคม ทั้งมีญาณปรัชญา (Epistemology) คือ เราไม่มีทางจะรู้ความเป็นจริงในตัวเอง เรารู้เพียงแต่ภาพของความเป็นจริง…

Epistemology in analytic philosophy

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว... ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytic Philosophy) มีญาณปรัชญาว่า ในสมัยปัจจุบันให้ความสนใจทฤษฎีความหมายเป็นพิเศษตามแนวคิดวิทเกินชทายน์ (Ludwig Wiggenstein, 1889-1951) ทฤษฎีความหมายเท่าที่มีในขณะเวลานี้ จัดกลุ่มได้เป็น 4 กลุ่มทฤษฎี คือ Continue reading "Epistemology in analytic philosophy"

bias on belief

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต เอ็ดมุนด์ ฮูสเซิร์ล (Edmund Husserl) เป็นนักปรัชญาที่เสนอความคิดได้อย่างลึกซึ้งและเสนอท่าทีในความพยายามตีความสารัตถะจากปรากฎการณ์ โดยเชื่อว่าปรากฎการณ์เป็นผลลัพธ์ของความเป็นจริงและปัญญาร่วมกัน ยิ่งถ้าเราใช้การตรึกตรองวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในปัญญาก็จะพบสาระของสิ่งของซึ่งเป็นสาระเท่าที่รู้ได้โดยปัญญาในระดับปรากฎการณ์วิทยา Continue reading "bias on belief"

Attachment in Cause-Effect and Reasoning

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต เมื่อมนุษย์เรียนรู้สรรพสิ่ง ต้องการอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเห็นแต่ผล จึงรู้ว่ามีผลเช่นนี้ ก็ได้พยายามหาคำอธิบายที่พอฟังได้มาใช้อธิบาย เรียกว่า เหตุผล (reasoning) คำอธิบายนี้พอฟังได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อมีความรู้เพิ่มขึ้น บางคำอธิบายก็ฟังไม่ขึ้น การให้เหตุผลจึงเน้นความสมเหตุสมผล (reasonable) โดยใช้ตรรกะมาเป็นแนวทาง นำไปสู่การใช้เทคนิควิธีในการชวนเชื่อให้เชื่อ เป็นวาทศิลป์ จึงมีฝ่ายที่เห็นว่า เราไม่ควรยึดติดในหลักเหตุผล ไม่ใช่ไม่สนใจเหตุผล แต่อย่าติดอยู่ในหลักตรรกะที่ใช้มาค้ำประกันคำอธิบายในเรื่องนั้นๆ แต่ให้แสวงหาคำอธิบายที่ดูสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนปัญญา Continue reading "Attachment…

Postmodern epistemology

พ.ท.หญิง ดร.สุดารัตน์ น้อยแรม .... ญาณปรัชญาหลังนวยุค ภาวะความเป็นอยู่ตามที่อภิปรัชญาสอน นักหลังนวยุควิพากย์ว่าเป็นเพียงจินตนาการ ความเพ้อฝัน เป็นอภิเรื่องเล่า (meta-narrative) เป็นเรื่องเหลวไหล นักคิดกลุ่มรื้อถอนนิยม (deconstructionism) จะหยุดอยู่ตรงนี้ แต่นักคิดกลุ่มรื้อสร้างใหม่นิยม (reconstructionism) จะดำเนินการสร้างใหม่ โดยเสนอว่าความเป็นจริงใหม่ที่ควรสนใจศึกษาแทนอภิปรัชญาเดิม ญาณปรัชญาของหลังนวยุคคือการใช้วิจารณญาณและอรรถปริวรรต ชี้ถึงความเป็นความจริงที่อยู่ใกล้ตัวและถูกมองข้ามว่าเป็นเรื่องควรสนใจศึกษา ความจริงใหม่ของชาวหลังนวยุคคือ ความหมายของสิ่งและเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบเห็นรอบ ๆ ตัวเราและทั่ว ๆ ไป เป็นความจริงที่อยู่ในประสบการณ์ของทุกคน พบเห็นอยู่ทุกหนทุกแห่ง…