New Age vs. New Thought: bridge over modern to postmodern isn’t it?

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; ในปัจจุบันกระแสสนใจการพัฒนาทางจิตวิญญาณ (spiritual development) แพร่หลายและได้รับการยอมรับผ่านท่าทีต่างๆ และมีความพยายามรองรับแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้นับถือศาสนาและผู้ไม่นับถือศาสนา แม้จะมีพื้นฐานแนวคิดจิตนิยม (idealism) ที่มองว่า ทุกอย่างมีพื้นฐานมาจากจิต แต่เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายจึงทำการอุปมา (metaphor) เป็นฝ่ายกายภาพ/วัตถุ (physical-object) เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่หลากหลายมีกระแสหลักจากโลกตะวันตกที่น่าพิจารณาและพึงเข้าใจว่า กระแสเหล่านี้ได้แพร่สะพัดมายังโลกตะวันออกและเกิดเป็นความคลุมเคลืออย่างยิ่ง Continue reading "New Age vs. New Thought: bridge over…

ปัญหาที่คนธรรมดามองเองไม่เห็น

อัครกาญจน์ วิชัยดิษฐ์ นักศึกษา ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์ ปัญหาเป็นสิ่งที่มีอยู่กับมนุษย์อยู่ในทุกๆ วัน แค่ตื่นขึ้นมาก็มีปัญหาแล้ว แค่ว่าจะกินอะไร ก็เป็นปัญหา การใช้ชีวิตทั่วไป ๆ รวมไปถึงการทำงานก็มีปัญหา แต่ปัญหาเหล่านี้เราพอที่จะมองหาคำตอบได้ จะกินอะไรก็แค่คิด แล้วก็จะนึกได้ว่าจะกินอะไร มีคำตอบในใจได้ง่าย แต่จริงๆ แล้ว เราไม่รู้ว่า ที่เราอยากกินอันนั้นเป็นความอยากจริงๆ ของเรา หรือเป็นความต้องการจริงๆ หรือเปล่า Continue reading "ปัญหาที่คนธรรมดามองเองไม่เห็น"

Beauty privileges

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต สิทธิพิเศษของร่างกาย (ฺBody privilege) เป็นแนวคิดใหม่ที่ Samantha Kwan (นักคิด นักเขียน) ยืมมาจากแนวคิดเรื่องสิทธิพิเศษของคนผิวขาว (white man privilege) ของ Peggy McIntosh (นักสตรีนิยมชาวอเมริกัน) และพัฒนามาเป็นแนวคิดที่ว่าสิทธิพิเศษอาจขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของบุคคลด้วย โดยอธิบายว่า สิทธิพิเศษนี้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของบางคน เช่น ในบางกรณี ร่างกายของบุคคลถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้ความฉลาดของบุคคลได้ ร่างกายของบุคคลยังเป็นปัจจัยในการตัดสินใจในการจ้างงาน ทั้งการจ้างงานและการเลื่อนตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษนี้อาจใช้เฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น…

คุณค่าทางจริยศาสตร์

พ.อ. ดร.ไชยเดช แก่นแก้ว การศึกษาเรื่องคุณค่าทางจริยศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทำของมนุษย์นั้น สามารถพิจารณาตามขอบเขตของจริยศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาคำตอบใน 3 ประเด็นนี้ คือ 1.   คุณค่าการกระทำของมนุษย์ คือ การศึกษาว่าคุณค่ามาจากไหน และมีความสำคัญอย่างไร คุณค่าการกระทำ ความประพฤติ พฤติกรรมของมนุษย์ที่ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ควร/ไม่ควร เป็นแบบใด ดีชั่ว ถูกผิดคืออะไร สามารถนิยามได้หรือไม่ ถ้านิยามได้จะนิยามว่าอย่างไร ความดี ความชั่วมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม และถ้าหากความดีชั่ว ถูกผิดมีอยู่จริงแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร Continue reading…

การยืนยันเชิงคุณค่าต่อคำว่า “ดีงาม” ตามสมรรถภาพคิดปรัชญาที่เป็นกลาง

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว ความเชื่อเรื่องความดีและความงามในบริบทของวัฒนธรรมไทยนั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องเดียวกัน วัฒนธรรมไทยจึงเลือกใช้คำว่า “ดีงาม” เพื่อใช้อธิบายคุณค่าของความประพฤติของบุคคลว่าควรยอมรับหรือไม่ โดยเลือกใช้คำว่า “ดีงาม” เป็นเกณฑ์ตัดสินเชิงคุณค่า เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า เป็นแนวคิดทางปรัชญาที่เป็นกลาง กล่าวคือ เป็นแนวคิดที่ให้ข้อคิดอย่างที่ไม่ขาดและไม่เกิน (พอเพียง)         ดังนั้นการให้คำนิยามว่า “ดีงาม” ในสภาพที่เป็นกลางจึงหมายความพอดีที่กลมกลืนกันระหว่างความดีและความงาม ซึ่งอาจแสดงออกให้เห็นคุณสมบัติในเชิงกายภาพเพียงด้านหนึ่งด้านใดตามที่ปรากฏให้เห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเรียกว่า “สิ่งงาม” หรือ “สิ่งดี” ก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติภายในของสิ่งนั้นก็พบว่ามี “สิ่งดี” หรือ “สิ่งงาม” อีกส่วนหนึ่งแฝงอยู่ภายใน Continue…

การรับรู้บทบาทเทวราชแบบพระอินทร์

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน ความเป็นพระอินทร์ของระบบเทวราช สะท้อนออกมาเป็นสถาบันกษัตริย์ที่จะต้องมีกรณียกิจที่แสดงออกในฐานะผู้ดูแลและผู้ให้ที่สำคัญ โดยมีการชี้ขยายในทางพระพุทธศาสนาถึงคุณธรรมของพระอินทร์ โดยนำมาจากคุณธรรมที่ปฏิบัติแล้วจึงมีอานิสงฆ์ได้เกิดเป็นพระอินทร์ (ทีฆนิกาย มหาวรรค) ได้แก่ วัตตบท 7 กษัตริย์จะต้องมีจริยวัตรทั้ง 7 นี้ด้วย และเมื่อยกเลิกกฎมณเทียรบาลในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ทำให้ประชาชนใกล้ชิดกับกษัตริย์ยิ่งขึ้น คุณธรรมทั้ง 7 นี้ก็เป็นสิ่งที่กล่าวถึงในฐานะพระจริยวัตรอันงดงามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมาโดยตลอดทุกพระองค์ คตินิยมอีกอย่างหนึ่งคือ คติพระโพธิสัตว์ โดยมองว่าพระอินทร์เป็นพระโพธิสัตว์เจ้า จึงทรงบำเพ็ญบารมีดูแลช่วยเหลือโลก ดังนั้น กษัตริย์จึงทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ลงมาบำเพ็ญบารมี ช่วยเหลือประชาชน เป็นผู้ให้สูงสุด ด้วยเช่นเดียวกัน…

การพัฒนาตนบนฐานปรัชญาพุทธ

พ.อ. ดร. ไชยเดช แก่นแก้ว การพัฒนาคุณภาพชีวิตมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตามปรัชญาพุทธ ทั้งนี้ แนวความคิดการดำรงชีวิตในวิถีพุทธสำหรับปุถุชนเน้น 1) การมองเข้ามาในตัวตนอย่างใคร่ครวญตามหลักปฏิจจสมุปบาท และ 2) มองออกนอกตัวตนเพื่อทำความเข้าใจบุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือทิศหก และสังคมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ Continue reading "การพัฒนาตนบนฐานปรัชญาพุทธ"