Philosophy of Knowledge

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต

เมื่อกล่าวถึง “ปรัชญาความรู้” ย่อมทำให้ย้อนนึกไปถึงศาสตร์สำคัญคือ ญาณวิทยา (epistemology) ที่เป็นวิชาว่าด้วยความรู้ หรือที่ฝ่ายนักปรัชญาในยุคใหม่เรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (theory of knowledge) สิ่งที่สนใจในวงรอบความคิดนี้ย่อมไม่พ้นขอบเขตการศึกษาของญาณวิทยา ทั้งนี้ย่อมศึกษาผ่านประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของวิชาการความรู้ (science of knowledge) ในฐานะบริบทเชิงมโนทรรศน์ของความรู้ (conceptual context of knowledge) ในแต่ละยุค แต่ละกระบวนทรรศน์ความคิด (paradigm of thought) ซึ่งสรุปลงเป็นแต่ละลัทธิทางปรัชญา โดยขบคิดกันใน 2 บริบทสำคัญคือ วิธีการได้มาซึ่งความรู้และประเภทของความรู้ที่เกิดขึ้น

เมื่อพิจารณาวิธีการได้มาซึ่งความรู้ (way of knowing) ย่อมจำแนกวิธีการออกมาเป็นเบื้องต้น ดังนี้

วิธีการได้มาซึ่งความรู้ จำแนกตามความง่าย-ยากของการได้มาซึ่งความรู้

  1. การมีประสบการณ์เชิงประจักษ์  (empiric)  เป็นการประจักษ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การเห็น ได้ฟัง  ได้กลิ่น   ได้รส และได้สัมผัส) หรืออาจเรียกว่าการสังเกต (observation) ก็ได้
  2. การคิดใช้เหตุผล (rational thinking) เป็นการคิดโดยอาศัยเหตุผลบนรากฐานของหลักตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
  3. การถ่่ายทอดจากระบบที่วางไว้ (authoritation) เป็นการรับมาเป็นความรู้จากการเรียน การศึกษา การพูดคุยกับผู้รู้ ตำรา แหล่งเรียนรู้ต่างๆ
  4. การหยั่งรู้  (intuition) เป็นการรู้ได้เองเกินกว่าการประมวลความรู้จากการคิด เกิดขึ้นภายใต้ภาวะมีสติ (consciousness)
  5. การวิวรณ์ (revelation)  เป็นการเปิดเผยจากพระเจ้า ผ่านวจนะ (the Word) หรือ การส่องสว่าง (Enlightenment)

เมื่อได้ความรู้มาแล้ว เกิดตัวความรู้ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ได้ตามเกณฑ์ประสบการณ์เชิงประจักษ์ ได้แก่

  1. ความรู้ดั้งเดิม  (priori  knowledge) เป็นความรู้ที่มีอยู่แต่เดิม ไม่ต้องการการพิสูจน์ใดๆ เรียกอีกอย่างว่า ความรู้แต่กำเนิด (innate knowledge)
  2. ความรู้ที่เกิดภายหลัง  (posteriori  knowledge)  เป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของประสบการณ์และการสังเกต เรียกอีกอย่างว่า ความรู้จากการสังเกต (observational knowledge)
  3. ความรู้จากคิดการทดลอง  (knowledge  by thinking/experiment) เป็นความรู้ที่เกิดภายหลังจากการคิดเกี่ยวการทำให้เกิดประสบการณ์ เพื่อนำมาสร้างวิธีที่จะทำให้เกิดสู่ประสบการณ์ที่น่าพอใจ

ในขณะเดียวกันก็แยกชนิดของความรู้ได้เป็นกลุ่มๆ ได้แก่

  1. Knowledge by Acquaintance ความรู้ที่คุ้นเคย เป็นความรู้ถึง ธรรมชาติ ลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น เขาชอบพูดเสียงดัง
  2. Knowledge-that ความรู้ว่าสิ่งนั้นทำอะไรโดยทั่วไป เช่น คนเดิน นกบิน
  3. Knowledge-Wh ความรู้ว่าสิ่งนั้นเป็น who, what, where, when, why (ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไรทำไม)
  4. Knowledge-How ความรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร How

ในช่วงกระบวนทรรศน์ยุคใหม่ เกิดข้อสงสัยต่อความรู้ (Sceptical Doubts about Knowing) เลยเริ่มจาก Descartes จนมาถึง Kant นำไปสู่ความเข้าใจต่อความรู้ในฐานะระดับความเป็นไปได้ possibilities ของความจริง (truth) ทั้งนี้ มีการพิจารณาใน 2 ประเด็นคือ

  1. ความถูกต้องของความเชื่อและการค้ำประกันความเชื่อ (true and well justified belief) ซึ่งสนใจในแง่หลักฐาน (evidence) และ ความน่าเชื่อถือ (reliability)
  2. ความเชื่อไม่เป็นความรู้ (beliefs are not  knowledge) เป็นสิ่งที่อาจจะถูกค้ำประกันด้วยหลักฐานและความน่าเชื่อถือว่าถูกต้องและจริงและคนเชื่อถือตามนั้น แต่สิ่งนั้นไม่เป็นความรู้ก็ได้ เป็นแค่ ข้อมูลที่ยังไม่อาจสรุปรวบยอดได้ เช่น คนดีมีเงินมาก แม้จะพบหรือไม่พบเหตุการณ์ คนก็ยังเชื่อเช่นนี้ แต่ก็ไม่เป็นความรู้อยู่เช่นนั้น

knowledge for its own sake

ความรู้เพื่อความรู้

สถานภาพของความรู้ (Status of Knowledge)

ความรู้มีสถานภาพแสดงความรุ่งเรืองของอารยธรรม ในยุคโบราณเน้นการแสวงหาความรู้ และระบบกฎเกณฑ์ต่างๆ ในยุคกลางยกย่องความรู้ศาสนา ในยุคใหม่เชื่อว่ามีความเป็นจริงวัตถุวิสัยในระบบความรู้  ความรู้ที่เชื่อว่าความเป็นจริงต้องเป็นวัตถุวิสัยที่ตรงกัน 3 ด้าน คือ ความเป็นจริง ความคิด และภาษา ทั้งสามประสานกันเป็นระบบเครือข่าย (systematic network) ตามเกณฑ์ของนวยุคภาพ ซึ่งเรียก ความเชื่อในระบบเครือข่ายเช่นนี้ว่า “วจนศูนย์นิยม” (Logocentrism) ได้สร้างความหมายใหม่ให้แก่ภาษาด้วยเหตุผล (อุปนัยและนิรนัย)

ฟูโกต์ (Foucault) ชี้ว่าจากภาวะสังคมที่มีการแบ่งความรู้ออกเป็นศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้มนุษย์เราถูกทำให้มีความหลากหลายของสถานภาพ รวมไปถึงถูกทำความเข้าใจ อธิบายอย่างแตกต่างหลากหลาย ไม่มีศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่สามารถอธิบายความเป็นจริงของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ศาสตร์ต่าง ๆ ก็ยังมีอิทธิพลต่อมนุษย์เรามากมาย

สิ่งที่ทำให้กลไกของความรู้เป็นเช่นนี้ก็คือ การเกิดขึ้นของสถาบันต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการรองรับและรับใช้ความรู้ ทั้งการทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง การผลิตความรู้ใหม่ และรวมไปถึงการผลิตวรรณกรรมขององค์ความรู้แบบนั้น ๆ เพื่อบอกเล่าว่าความรู้แบบใหม่สอนอะไร ให้อะไรแก่คนในสังคมรวมไปถึง มีอำนาจใดในการอธิบายมนุษย์และก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความรู้แบบใหม่กับความรู้แบบดั้งเดิมอย่างไร ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ สังคมกับสิ่งแวดล้อม  ในวัฒนธรรมหนึ่งไม่มีมนุษย์คนใดสำคัญหรือมีค่ามากกว่ามนุษย์อีกคนหนึ่ง หากแต่มนุษย์ต่างกันเพราะการให้ค่าความรู้อย่างหนึ่งในสังคม

ในปัจจุบัน ความรู้มีจำนวนมาก การค้ำประกันความจริงจึงอยู่ที่การย้อนอ่านทั้งหมด ไม่ปฏิเสธสิ่งใด (reread all, reject none) และ มนุษย์ทุกคนมีโอกาสที่จะสร้างโครงสร้างใยข่ายความรู้ในสมองตนเองเพื่อประโยชน์ในการช่วยจำ เข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้และสามารถพัฒนาสติปัญญาตัวเองได้

life long

1 Comment

Leave a comment