Philosophical Contemplation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; การเพ่งพินิจ contemplation เริ่มใช้ในราว คริตศตวรรษ 1200 ใช้ contemplacioun (ฝร.) หมายถึง การไตร่ตรอง/การรำพึงทางศาสนา มีรากภาษาละติน (contemplationem) หมายถึง การกระทำของการมอง-การเพ่งพินิจ การจ้องมองอย่างตั้งใจ สังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง โดยทั้งหมดหมายรวมถึง "เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับการสังเกต" มาจาก com+ templum (พื้นที่สำหรับการทำการทำนาย; temple วิหาร) ปลายศตวรรษที่…

Who is under skeptic

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต วิมตินิยม (Skepticism) เป็นทัศนคติที่ตั้งคำถามหรือข้อกังขา (doubt) ต่อการกล่าวอ้างทางความรู้ที่ถือว่าเป็นเพียงความเชื่อ (belief) หรือหลักคำสอน (dogma) ทั้งนี้ skept มีความหมายว่า ค้นหา สืบค้นหา มองหา จึงหมายถึงผู้ที่ค้นหาความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ชาววิมตินิยมมักจะแสดงตนผ่านทัศนคติเชิงลบ (negative attitude) ต่อคำกล่าวอ้าง ความเชื่อและคำสอนของสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานของรัฐ (governance claims) ในเรื่องต่าง โดยจะสงสัยว่าคำกล่าวอ้างเหล่านี้ถูกต้อง (accuracy)…

New Age vs. New Thought: bridge over modern to postmodern isn’t it?

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; ในปัจจุบันกระแสสนใจการพัฒนาทางจิตวิญญาณ (spiritual development) แพร่หลายและได้รับการยอมรับผ่านท่าทีต่างๆ และมีความพยายามรองรับแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้นับถือศาสนาและผู้ไม่นับถือศาสนา แม้จะมีพื้นฐานแนวคิดจิตนิยม (idealism) ที่มองว่า ทุกอย่างมีพื้นฐานมาจากจิต แต่เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายจึงทำการอุปมา (metaphor) เป็นฝ่ายกายภาพ/วัตถุ (physical-object) เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่หลากหลายมีกระแสหลักจากโลกตะวันตกที่น่าพิจารณาและพึงเข้าใจว่า กระแสเหล่านี้ได้แพร่สะพัดมายังโลกตะวันออกและเกิดเป็นความคลุมเคลืออย่างยิ่ง Continue reading "New Age vs. New Thought: bridge over…

Self-Cultivation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต การพัฒนาจิตใจหรือความสามารถของตนเองโดยอาศัยความพยายามของตนเองเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับมนุษยชาติ การบ่มเพาะปลูกฝังตนเอง (การอบรมบ่มนิสัย) คือ การฝึกฝน (practice/apprentice) การบูรณาการทุกสิ่งจนเป็นหนึ่งเดียว (integration) และการประสานกัน (congruence) ของจิตใจและร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้ได้ถูกทบทวนเพื่อการใช้ช่วยเหลือแนะนำผู้มีปัญหาในบุคลิกภาพและจิตใจ ผู้ที่รู้สึกว่าตนแปลกแยกแตกต่างจากผู้อื่น เพื่อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองจริง ๆ (real self) Continue reading "Self-Cultivation"

spirit in short concept

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต แนวคิดของจิตนั้นมีความซับซ้อนและหลากหลาย เราสามารถเข้าใจได้หลายแง่มุม ดุจดั่งมองดูลูกแก้วที่มีหลายเหลี่ยม เราจะมองเห็นแต่ด้านที่เรามองไปตรงๆ แต่ด้วยสมองของเรา ทำให้เรารวมภาพต่างๆ เข้าไปจนเห็นเห็นภาพ 3 มิติ เช่นเดียวกัน เราถ้ามองเรื่องจิตจากด้านต่างๆ เราก็จะเสมือนมองเห็นจิตในทุกด้าน แต่กระนั้นพึงเข้าใจว่า เราเห็นเป็นด้านๆ ไป และจะมีด้านหลังที่เราไม่เห็น แม้ลูกแก้วนั้นจะโปร่งแสง เรามองเห็นทะลุไปด้านหลัง แต่เราก็ไม่ได้เห็นด้านหลังอย่างแท้จริง ต่อให้เราเดินไปดูรอบๆ ลูกแก้ว เราคิดว่าเราเห็นลูกแก้วทุกด้านแล้ว แต่เราจะเห็นลูกแก้วครบทุกด้านจริงก็ต่อเมื่องลูกแก้วหยุดนิ่ง แต่ถ้าลูกแก้วหมุนตามเราหรือหมุนเร็วกว่าที่เราเดิน เช่นนั้น เราก็แทบจะไม่ได้เห็นลูกแก้วรอบด้านอย่างแท้จริงเลย กระนั้น…

เหตุผลหรืออารมณ์

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต ... ลัทธิปัญญานิยมเน้นว่าถ้าจุดหมายปลายทางชีวิตมนุษย์อยู่ที่ความสุขแล้ว มนุษย์ก็มีค่าเสมอกับสัตว์ เพราะสัตว์ก็แสวงหาความสุข แต่ด้วยความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความจริงนั้นเองที่เป็น คุณสมบัติทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์  ความสุขจึงมี 2 ระดับ คือ 1) ความเพลิดเพลิน  ความสุขระดับการรับรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก เช่น การรับรู้ในรสอาหาร  ความพอใจทางประสาทสัมผัส การรับรู้ในระดับนี้ ทำให้มนุษย์แสวงหาความสุขสำราญได้มากขึ้น เป็นความสุขระดับเดียวกันกับสัตว์ทั้งหลาย  และ 2) ความสุขที่เกิดจากกิจกรรมทางปัญญาเป็นความสุขที่เป็นผลจากการปฏิบัติคุณธรรมของบุคคลContinue reading "เหตุผลหรืออารมณ์"

บุคลิกภาพคือภาคแสดงของจิตใจ

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต ... มนุษย์มีพลังที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ พลังคิด (mental powers) ยิ่งมีพลังที่ทำให้คิดได้ไว คิดได้เฉียบแหลม คิดได้ถูกต้อง ก็จะสามารถทะลุทะลวงอุปสรรคต่างๆ ในบททดสอบแห่งชีวิตได้ Continue reading "บุคลิกภาพคือภาคแสดงของจิตใจ"