Philosophical Contemplation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; การเพ่งพินิจ contemplation เริ่มใช้ในราว คริตศตวรรษ 1200 ใช้ contemplacioun (ฝร.) หมายถึง การไตร่ตรอง/การรำพึงทางศาสนา มีรากภาษาละติน (contemplationem) หมายถึง การกระทำของการมอง-การเพ่งพินิจ การจ้องมองอย่างตั้งใจ สังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง โดยทั้งหมดหมายรวมถึง "เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับการสังเกต" มาจาก com+ templum (พื้นที่สำหรับการทำการทำนาย; temple วิหาร) ปลายศตวรรษที่…

Who is under skeptic

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต วิมตินิยม (Skepticism) เป็นทัศนคติที่ตั้งคำถามหรือข้อกังขา (doubt) ต่อการกล่าวอ้างทางความรู้ที่ถือว่าเป็นเพียงความเชื่อ (belief) หรือหลักคำสอน (dogma) ทั้งนี้ skept มีความหมายว่า ค้นหา สืบค้นหา มองหา จึงหมายถึงผู้ที่ค้นหาความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ชาววิมตินิยมมักจะแสดงตนผ่านทัศนคติเชิงลบ (negative attitude) ต่อคำกล่าวอ้าง ความเชื่อและคำสอนของสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานของรัฐ (governance claims) ในเรื่องต่าง โดยจะสงสัยว่าคำกล่าวอ้างเหล่านี้ถูกต้อง (accuracy)…

New Age vs. New Thought: bridge over modern to postmodern isn’t it?

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; ในปัจจุบันกระแสสนใจการพัฒนาทางจิตวิญญาณ (spiritual development) แพร่หลายและได้รับการยอมรับผ่านท่าทีต่างๆ และมีความพยายามรองรับแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้นับถือศาสนาและผู้ไม่นับถือศาสนา แม้จะมีพื้นฐานแนวคิดจิตนิยม (idealism) ที่มองว่า ทุกอย่างมีพื้นฐานมาจากจิต แต่เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายจึงทำการอุปมา (metaphor) เป็นฝ่ายกายภาพ/วัตถุ (physical-object) เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่หลากหลายมีกระแสหลักจากโลกตะวันตกที่น่าพิจารณาและพึงเข้าใจว่า กระแสเหล่านี้ได้แพร่สะพัดมายังโลกตะวันออกและเกิดเป็นความคลุมเคลืออย่างยิ่ง Continue reading "New Age vs. New Thought: bridge over…

การแสวงหาความรู้

อ.ดร.รวิช ตาแก้ว; มนุษย์มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้ที่ก้าวหน้ามากกว่าเผ่าพันธุ์อื่นใดในโลกนี้   ด้วยการรู้คิดและมีเหตุผลได้ทำให้เกิดระบบการคิดเชิงเหตุผล และการคิดเชิงเหตุผลนี้เองที่นำพาให้มนุษย์มีความสามารถในการแยกแยะความเหมือน (sameness) และความแตกต่าง (difference) ได้ Continue reading "การแสวงหาความรู้"

สุนทรียสนทนากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน: สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคม แต่ในทางกลับกันความเจริญเหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ กลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมือง ได้ทำการปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ การประชุมปรึกษาหารือกันมักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเองนำไปสู่ความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ ในสังคม Continue reading "สุนทรียสนทนากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง"

อำนาจลึกซึ้ง

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต; ปีเตอร์ บาวมานน์ ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาแห่ง Swarthmore College, Pensylvania, USA ได้เขียนงานที่น่าสนใจเกี่ยวกับอำนาจลึกซึ้ง (soft power) เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิดเชิงวิพากษ์ที่มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย โดยให้ตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงและข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ต่อแนวคิดเรื่องอำนาจลึกซึ้งของโจเซฟ ไนย์ (Joseph Nye) Continue reading "อำนาจลึกซึ้ง"

พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย

ดร. อุบาสิกา ณัฐสุดา เชี่ยวเวช พรหมจรรย์ คำนี้มีหลายนัย จึงเข้าใจแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจอย่างรอบด้าน จึงต้องใช้กระบวนการตีความตามตัวอักษร ก็จะแปลว่า ความประพฤติประเสริฐ แต่เมื่อตีความโดยบริบทของคำแล้ว พบว่า ความหมายของ “พรหมจรรย์” มีหลายอย่าง ในพระไตรปิฎกได้จำแนกพรหมจรรย์ไว้ 13 ประการ เท่าที่สืบค้นได้ Continue reading "พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย"