พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย

ดร. อุบาสิกา ณัฐสุดา เชี่ยวเวช พรหมจรรย์ คำนี้มีหลายนัย จึงเข้าใจแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจอย่างรอบด้าน จึงต้องใช้กระบวนการตีความตามตัวอักษร ก็จะแปลว่า ความประพฤติประเสริฐ แต่เมื่อตีความโดยบริบทของคำแล้ว พบว่า ความหมายของ “พรหมจรรย์” มีหลายอย่าง ในพระไตรปิฎกได้จำแนกพรหมจรรย์ไว้ 13 ประการ เท่าที่สืบค้นได้ Continue reading "พรหมจรรย์: บริบทที่หลากหลาย"

ภาษาและสัญญะ

อัครกาญจน์ วิชัยดิษฐ์: นักศึกษา ป.เอก ปรัชญาและจริยศาสตร์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจ/ตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน สัญลักษณ์ หรือภาษาสัญญาณ หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลง การสื่อสารก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ไม่เป็นไปตามเจตนาหรือไม่สามารถสื่อสารได้ Continue reading "ภาษาและสัญญะ"

Equanimity

อัศวิน ฉิมตะวัน (นักศึกษา ปร.ด.ปรัชญาและจริยศาสตร์) Asawin Chimtawan (Ph.D. student in Philosophy and Ethics) .. .. เมื่อย้อนอ่านและพิจารณาแนวคิด การวางใจเป็นกลาง (Equanimity) ในปรัชญา ก็ย่อมต้องย้อนอ่านจากกระบวนทรรศน์โบราณซึ่งมีความเชื่อว่าโลกมีกฎเกณฑ์ เป็นเอกภพที่มีระบบระเบียบที่ชัดเจน  ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีกฎเกณฑ์ของมัน  เป็นอยู่ซ้ำ ๆ การเข้าถึงกฎเกณฑ์จะทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิตที่ดีได้   .. when re-read and re-considering the…

Self-Cultivation

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต การพัฒนาจิตใจหรือความสามารถของตนเองโดยอาศัยความพยายามของตนเองเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับมนุษยชาติ การบ่มเพาะปลูกฝังตนเอง (การอบรมบ่มนิสัย) คือ การฝึกฝน (practice/apprentice) การบูรณาการทุกสิ่งจนเป็นหนึ่งเดียว (integration) และการประสานกัน (congruence) ของจิตใจและร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้ได้ถูกทบทวนเพื่อการใช้ช่วยเหลือแนะนำผู้มีปัญหาในบุคลิกภาพและจิตใจ ผู้ที่รู้สึกว่าตนแปลกแยกแตกต่างจากผู้อื่น เพื่อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองจริง ๆ (real self) Continue reading "Self-Cultivation"

การใช้ภาษา: มุมมองเชิงปรัชญา

อ.ดร.สิริกร อมฤตวาริน ในศตวรรษที่ 19 ลุดวิก วิทเกินชทายน์ (Ludwig Wittgenstein) ได้ปรับแนวคิดทางปรัชญาด้วยท่าที่ว่า ปรัชญาบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาจากความเป็นจริงมีอยู่ในสภาพธรรมชาติและอยู่เรื่อย ๆ อย่างนั้นเอง เราได้เข้าใจความเป็นจริงนั้นเป็นส่วน ๆ โดยมีไวยากรณ์ความคิด (Grammar of Concept) เป็นเครื่องมือ ต่างคนต่างมีไวยากรณ์ผิดเพี้ยนกันไปในแต่ละคน แต่คนกลุ่มเดียวก็มักมีไวยากรณ์ความคิดคล้าย ๆ กัน ส่วนที่คล้ายกันนั้นคือ ไวยากรณ์สังคม ทั้งมีญาณปรัชญา (Epistemology) คือ เราไม่มีทางจะรู้ความเป็นจริงในตัวเอง เรารู้เพียงแต่ภาพของความเป็นจริง…

spirit in short concept

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต แนวคิดของจิตนั้นมีความซับซ้อนและหลากหลาย เราสามารถเข้าใจได้หลายแง่มุม ดุจดั่งมองดูลูกแก้วที่มีหลายเหลี่ยม เราจะมองเห็นแต่ด้านที่เรามองไปตรงๆ แต่ด้วยสมองของเรา ทำให้เรารวมภาพต่างๆ เข้าไปจนเห็นเห็นภาพ 3 มิติ เช่นเดียวกัน เราถ้ามองเรื่องจิตจากด้านต่างๆ เราก็จะเสมือนมองเห็นจิตในทุกด้าน แต่กระนั้นพึงเข้าใจว่า เราเห็นเป็นด้านๆ ไป และจะมีด้านหลังที่เราไม่เห็น แม้ลูกแก้วนั้นจะโปร่งแสง เรามองเห็นทะลุไปด้านหลัง แต่เราก็ไม่ได้เห็นด้านหลังอย่างแท้จริง ต่อให้เราเดินไปดูรอบๆ ลูกแก้ว เราคิดว่าเราเห็นลูกแก้วทุกด้านแล้ว แต่เราจะเห็นลูกแก้วครบทุกด้านจริงก็ต่อเมื่องลูกแก้วหยุดนิ่ง แต่ถ้าลูกแก้วหมุนตามเราหรือหมุนเร็วกว่าที่เราเดิน เช่นนั้น เราก็แทบจะไม่ได้เห็นลูกแก้วรอบด้านอย่างแท้จริงเลย กระนั้น…

ว่าด้วย “มหายาน”

บรรพตี รำพึงนิตย์ …ศศ.ม. ปรัชญาและจริยศาสตร์ พุทธศาสนามหายานมีคณาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณ เช่น คุรุนาคารชุน (พ.ศ.693-793) ท่านเป็นผู้สร้างปรัชญามหายานนิกายศูนยวาท (คำสอนเป็นศูนย์กลาง) หรือมาธยมิกะ (ทางสายกลาง) โดยใช้ระบบวิภาษวิธี (Dialectics) ในการอธิบายทฤษฏีความสัมพันธ์ของสาเหตุ-ผล (cause-effect relationship) หรือปฏิจจสมุปบาท (dependent origination) ระบบวิภาษวิธีของนิกายศูนยวาท เป็นศาสตร์ในการอภิปราย/อธิบายด้วยหลักตรรกวิทยา (reasoning เหตุผล) Continue reading "ว่าด้วย “มหายาน”"