Indistinctness in Thai word for philosophy

ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ... ความคลุมเครือของภาษาไทยเมื่อใช้ในงานวิชาการทางปรัชญาเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เช่น คำว่า "พหุ" ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ก็ทำให้เกิดความสับสนได้ เช่น พหุนิยม (Pluralism) เป็นศัพท์ปรัชญาศาสนา หมายถึง การยอมรับให้สังคมของตนมีหลายศาสนาโดยที่สมาชิกของสังคมมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงศาสนาเดียวและมีพันธะผูกพันที่จะเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกันและกันด้วยความเกรงใจไม่ล่วงละเมิดเงื่อนไขที่ศาสนาอื่นสงวนไว้สำหรับสมาชิกของศาสนาของตนเท่านั้น เช่น ไม่ล่วงล้ำย่างเท้าเข้าในบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนไว้สำหรับบุคคลพิเศษในศาสนาของตนเท่านั้น ไม่ปฏิบัติหรือกระทำบางอย่างที่สงวนไว้สำหรับพิธีกรรมบางอย่างของศาสนาของตนโดยเฉพาะ Continue reading "Indistinctness in Thai word for philosophy"

Contemporary Thai Philosophy is not Nationalism

ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ... การเสวนาให้เกิดผลดีแก่ผู้ร่วมสนทนาทุกฝ่าย ต้องมีศีลเสมอกันละก็พูดกันรู้เรื่องง่ายมิฉะนั้นก็มีแต่เสียเวลาพูดกันไม่รู้เรื่องกีรติ บุญเจือ, 2562 ชาติในอาเซียนส่วนใหญ่ต่างก็มีอารยธรรมที่อวดได้ว่าเป็นอารยธรรมประจำชาติ แสดงออกเป็นวัฒนธรรมประจำชาติได้อย่างมีความหมาย อารยธรรมเป็นสิ่งผู้คนต่างหวงแหนปกปักษ์รักษา แต่วัฒนธรรมติชมกันได้ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายสังคมนิยมแบบเวียดนามเพราะมีอารยธรรมเวียดนามเป็นฐาน รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายภูมิบุตรเพราะมีอารยธรรมมาเลย์เป็นฐาน ฯลฯ ไทยเรามีนโยบายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นวัฒนธรรม ไม่มีอารยธรรมไทยเป็นฐานเหมือนชาติอื่น ๆ ถือว่าไม่เสมอกัน พูดกันหลายเรื่องไม่รู้เรื่องกัน ไม่รู้ว่าทาไม ก็เพราะความปกติที่ไม่เท่ากันนี้เป็นเหตุสาคัญ หากรู้ก็ต้องแก้ที่สาเหตุ ถ้าไม่รู้ ก็แล้วไป ปล่อยไปตามยถากรรม ตามบุญตามกรรม ตามดวงตามชะตาของประเทศและชาติ…

diversity in unity

ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต เมื่อปรารถถึงความเป็นจริงของโลกในทางปรัชญามีหลักการ 2 อย่างที่มักจะเข้าใจว่าเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกัน นั่นคือ เอกภาพในความหลากหลาย (unity in diversity) และ ความหลากหลายในเอกภาพ (diversity in unity) ซึ่งกระแสของโลกปัจจุบันมุ่งไปที่เอกภาพในความหลากหลาย ด้วยเห็นว่า ความเป็นจริงต่างๆ ของโลกและสังคมโลกปรากฎความหลากหลาย จึงต้องกำกับหรือเน้นย้ำความเป็นเอกภาพเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างจนนำไปสู่ความขัดแย้ง Continue reading "diversity in unity"

foundation of Thai philosophy

ปรัชญไทย ศ.กีรติ บุญเจือ .... การถกเถียงถึงการมีอยู่ของปรัชญาไทยยังคงมีอยู่ในแวดวงวิชาการโดยเหล่านักวิชาการและนักวิจัยในสาขาต่างๆ สำหรับกระแสสำนักคิดปรัชญาสวนสุนันทา โดยศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ นั้นได้ยืนยันว่า ปรัชญาไทยมีอยู่จริง โดยได้เขียนเป็นหนังสือ ปรัชญาไทยฉบับบุกเบิก ในชุดเซนต์จอห์น ปี พ.ศ.2546 และ อรรถปริวรรตปรัชญาไทย ในชุดสวนสุนันทา ปี พ.ศ.2561 และได้เขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญาไทยไว้หลายวาระ เช่น วิกฤติของปรัชญาไทย ชี้ให้เห็นว่า ท่านมีความสนใจในปรัชญาไทย และมีทรรศนะว่า ปรัชญาไทยต้องเป็นความคิดใหม่ของคนไทย อาจมีความคิดเกี่ยวกับพุทธปรัชญา ปรัชญาอิสลาม ปรัชญาคริสต์และปรัชญาสากลระบบใดๆ…

กระบวนทรรศน์ 5, สัญชาตญาณ 4, พลัง 4

อ.ดร.เมธา หริมเทพาธิป ... กระบวนทรรศน์ 5 เป็นทั้งหลักปรัชญาที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาปรัชญาในรูปแบบใหม่ และเป็นทั้งนวัตกรรมทางความคิดที่ถูกวางระบบคิดและเนื้อหาโดย “ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ” ราชบัณฑิตสาขาปรัชญาContinue reading "กระบวนทรรศน์ 5, สัญชาตญาณ 4, พลัง 4"

ปรัชญาสวนสุนันทา

ปรัชญาสวนสุนันทา  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตนี้เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตให้เป็นปัญญาชนชาวไทยที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญทางปรัชญาและ จริยศาสตร์ระดับสากล และมีศักยภาพ ในการสร้างองค์ความรู้ทางปรัชญาหลังนวยุคสายกลางและชี้แนะสังคมในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตและสังคมได้อย่างมั่นใจและมีเกียรติ โดยเทิดทูน “เกียรติศักดิ์ นักปรัชญา” Continue reading "ปรัชญาสวนสุนันทา"