ปรัชญาการเมืองสั่นสะเทือนนวยุค

อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต

ปรัชญาการเมือง (political philosophy) มีความหมาย 2 นัย คือ

1) ปรัชญาการเมืองเป็นกระบวนการสะท้อนความคิดทางปรัชญา

  • การจัดการชีวิตสาธารณะให้มีความเหมาะสม เหมาะควร
  • การครุ่นคิดว่าสถาบันทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด
  • กิจกรรมทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด

2) ศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์

  • ปัญหาที่ปรัชญาการเมืองศึกษาในนัยนี้เป็นเรื่องของสังคม ( Society) และรัฐ ( The State ) ในแง่ของธรรมชาติ (Essence ) บ่อเกิด (Origin ) และคุณค่า ( Value ) ของรัฐและสังคม

การเมืองนั้นมีความหมาย2 ระดับ

  • ในระดับแคบ คือ รัฐบาล (what governments do?) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐหรือรัฐบาลกระทำสิ่งใดขึ้นมา
  • ในระดับกว้าง คือ ความสัมพันธ์ในสังคม (people exercising power over others) เป็นเรื่องที่คนในสังคมการเมืองใช้อำนาจต่อกัน

ความคิดทางการเมือง

การศึกษาพัฒนาการของความคิดทางการเมืองของนักปรัชญา นักคิด คนต่างๆในแต่ละยุคสมัยโดยคำนึงถึงบริบททางกาลเทศะว่ามีผลต่อทฤษฎี หรือหลักปรัชญาของนักปรัชญา นักคิด คนนั้นๆอย่างไรบ้าง รวมถึงได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากใคร อะไร อย่างไร

  • ปรัชญาการเมืองคลาสสิก (Classical Political Philosophy)
    • โสเครตีส เป็นผู้เริ่มต้น และสืบทอดผ่านมาทางเพลโตและอริสโตเติล
    • การต่อสู้เพื่อดำรงรักษาและพัฒนาชุมชนขนาดเล็กให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปกครองตนเอง มีเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ มีความสำเร็จในการจัดองค์การทางการเมืองการปกครอง ทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ (Modern Political Philosophy)
    • เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อผลของศาสนาคริสต์ที่แตกแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ
    • ปฏิเสธโครงร่างปรัชญาการเมืองคลาสสิกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
  • ปรัชญาการเมืองในปัจจุบัน (Contemporary Political Philosophy)
    • สังคมปัจจุบันถือว่า ความเห็นของโสเครตีสในเรื่องของความดี ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ล้วนแต่เป็นเรื่องซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวหรือแน่นอนคงที่และไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นจริงได้โดยหลักเกณฑ์แบบวิทยาศาสตร์
    • หลักการของปรัชญาเมธีไม่ว่าจะเป็นโสเครตีส เพลโต หรืออริสโตเติล เป็นเสมือนเพียงระบบค่านิยม ในบรรดาค่านิยมทั้งหลายเหล่านั้น

การปกครองรัฐ

  • องค์อธิปัตย์ (sovereign) เป็นผู้ทรงอำนาจสิทธิขาด ใช้อำนาจแทนคนทั้งหมด
  • รูปแบบการใช้อำนาจนั้นมีหลากหลาย เช่น เผด็จการ ราชวงศ์ ผู้ปกครองสูงสุด สภา
  • อุดมคติทางการปกครองนั้นรัฐ จะต้องมีระเบียบแบบแผนเดียว เป็นเอกภพภายใน นั่นคือ ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ประสานสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาอำนาจขององค์อธิปัตย์คือ ออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย รักษาความสงบภายใน
  • องค์อธิปัตย์มีหน้าที่ทำตามสัญญาประชาคมที่ได้ให้ไว้แก่ประชาชนว่าจะใช้อำนาจเพื่อรักษาสิทธิของประชาชนอย่างไร
  • องค์อธิปัติย์ถือสิทธิเหนือสิทธิของประชาชนแต่ละหน่วย โดยมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม อำนาจบริหารถูกใช้โดยรัฐบาลบนหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

รูปแบบการปกครอง

  • ราชาธิปไตย (Monarchy)
  • ทรราชย์ (Tyranny)
  • อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
  • คณาธิปไตย (Oligarchy)
  • ประชาธิปไตยแบบมวลชน (Democracy)
  • ประชาธิปไตยแบบผสม (Polity)

ระบบการเมือง

  • ระบบการเมืองปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Patriarchal System)
  • ระบบเจ้าครองนคร หรือระบบขุนนาง (Feudal System)
  • ระบบจักรพรรดิ (Military System)
  • ระบบสภา (Council-Court system)

อำนาจทางการเมือง

  • อำนาจเด็ดขาด (Absolutism)
    • Niccolo Machiavelli (1469-1527) แยกศีลธรรมออกจากการเมือง
    • Jean Bodin (1530-1596) การปกครองด้วยความยุติธรรมและศีลธรรม แนวความคิด รัฐาธิปไตย (รัฐ + อธิปไตย)
    • Thomas Hobbes (1588-1679) หลักเหตุผลว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์
  • การเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism)
    • John Locke (1632-1704) มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ ดีงาม มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือกัน ต้องไม่รุกล้ำสิทธิเสรีภาพของคนอื่น = สิทธิขั้นพื้นฐาน
    • Charles-Louis de Secondat Montesquieu (1689-1755) แยกอำนาจเป็น 3 ฝ่าย executive, the legislative, and the judicial
    • Jean Jacques Rousseau (1712-1778) มนุษย์เกิดมามีเสรี มี general will การแบ่งแยกต่างๆจึงทำให้เกิดกฎหมาย กฎหมายกับรัฐสร้างเครื่องพันธนาการแก่ผู้อ่อนแอ แต่เสริมสร้างพลังแก่ผู้มีอำนาจ

สัญญาประชาคม

  • ธามเมิส ฮับบ์ (Thomas Hobbes,1588 – 1679) เผยแพร่ “ลัทธิพื้นฐานของสังคมกับรัฐบาลที่ชอบธรรม”
  • ในขณะที่คนๆ หนึ่งที่อาจแข็งแรงหรือฉลาดกว่าใครๆ แต่ทุกคนมีสิทธิป้องกันตัวเพื่อเอาชีวิตรอดจากสิ่งใดก็ตามในโลก เป็นสิทธิ์และความจำเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์ ในขณะสังคมมีสถานการณ์ของการแข่งขันที่ไม่มีการควบคุม มีแต่ความเห็นแก่ตัวและไร้อารยธรรม
  • รัฐจึงต้องมีสัญญาประชาคม (Social contract) คือ ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกันกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
  • สัญญาประชาคมจึงถือเป็นกฎหมายธรรมชาติ (natural law) มีลักษณะเป็นสำนึกของจริยธรรมที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึงสิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครองได้ยอมสละไปเพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่
  • สัญญาประชาคมในฐานะกฎหมาย
    • Rudolf von Ihering, (1818-1892)
    • รัฐมีอำนาจในการเวนคืนและจำกัดสิทธิของเอกชน (individual) ในทรัพย์สินและเพื่อที่จะประสานระหว่างเอกชน (individual) กับสังคม (society) จำเป็นจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ ( interests) ต่าง ๆ ๓ ด้าน เข้าด้วยกัน
    • จำเป็นต้องส่งเสริมกิจกรรมของสังคม (social activities) เพื่อจุดหมายของสังคม (social end)

ความรุ่งเรืองแห่งรัฐ

  • ความเจริญรุ่งเรือง (Prosperity) – prosteritas ความหมายเดิมนั้นมุ่งเน้นความรุ่งเรืองด้านการเงิน การค้าขาย
  • ในปัจจุบัน รัฐที่เจริญรุ่งเรือง หมายถึง รัฐที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความก้าวหน้า มีอนาคตที่ดี เป็นรัฐที่ประสบความสำเร็จ โดยมิได้หมายความเพียงแต่ด้านทรัพย์สินเงินทอง แต่ยังรวมไปถึงสุขภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนและความสุขของประชาชน ซึ่งแสดงออกผ่านความรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ที่สามารถสืบทอดต่อไปในระดับวัฒนธรรมและอารยธรรม

ความรู้คือพลัง

  • ฟรานซิส เบเขิน ได้แสดงสโลแกนสำคัญคือ ความรู้คือพลัง (knowledge is power) และสอนให้มุ่งแสวงหาความรู้ที่แน่นอนเพื่อควบคุมธรรมชาติให้ตอบสนองตามความต้องการของเราเป็นเกณฑ์เพราะนั่นคือความรู้และพลังของมนุษย์
  • วิทยาศาสตร์ที่เจริญขึ้นได้สร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มนุษย์นำมาใช้สร้างความได้เปรียบเหนือธรรมชาติ และใช้เพื่อความได้เปรียบเหนือผู้ที่ไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เสมอกัน
  • การล่าอาณานิคมและระบบจักรวรรดินิยม

ประโยชน์นิยม

  • หลักหลักมหสุข (The Greatest Happiness Principle)
  • คนทุกคนมีค่าเท่ากับหนึ่งและไม่มีใครมีค่ามากกว่าหนึ่ง
  • คนทุกคนมีสิทธิในความสุขเท่า ๆ กัน
  • Jeremy Bentham, (1748- 1832)
    • ลัทธิประโยชน์นิยมแบบการกระทำ (Act-Utilitarianism) โดยมีแนวคิดว่า การกระทำที่จะถือว่าถูกได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขแก่มหาชน ความผิดของการกระทำอยู่ที่ก่อให้เกิดความทุกข์แก่มหาชน
  • John Stuart Mill, (1806 –1873)
    • ลัทธิประโยชน์นิยมเชิงกฎ (Rule -Utilitarianism) หมายถึง ไม่ต้องพิจารณาการกระทำในแต่ละครั้ง แต่ให้พิจารณาว่าถ้าทุกคนกระทำเหมือนกันประโยชน์สุขจะเกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อพิจารณากฎหมายแล้ว กฎหมายมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมหาชน แต่ถ้าเราต้องการช่วยเหลือชีวิตคน บางครั้งก็ต้องยอมละเมิดกฎหมาย

ทุนนิยม (capitalism)

  • ทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนแล้ว ในที่สุดจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • ทุนนิยมพยายามกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความเห็นแก่ตัวหรือใช้ความเห็นแก่ตัวเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า ทั้งในแง่การผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภค ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเจริญในที่สุด เป็นความเจริญโดยเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (invisible hand)

ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย

  • Karl Marx (1818 –1883)
  • รัฐเป็นสิ่งไม่จำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ เพราะรัฐกำเนิดขึ้นเนื่องจากโครงสร้างทางการผลิตที่เปิดโอกาสให้มีคนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และคนกลุ่มนี้สร้างอำนาจขึ้นมากดขี่ขูดรีด และรักษาสถานภาพของตนไว้
  • ดังนั้น ถ้าเป็นสังคมที่มีวิธีการผลิตแบบไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความแตกต่างทางชนชั้นก็หายไป รัฐก็พลอยหายไปด้วย

จุดเปลี่ยนทางการเมืองโลก

  • จุดสะดุดสำคัญคือ สงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1914-1918 ชนวนสำคัญคือนโยบายจักรวรรดินิยมที่แย่งชิงการมีอิทธิพลเหนือผลประโยชน์ในดินแดนต่างๆ จนมีกองกำลังเสียชีวิตรวม 10 ล้านคน บาดเจ็บ 20 ล้านคน สูญหาย 8 ล้านคน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิเยอรมันต้องล่มสลายลง
  • จุดสะดุดที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลาคือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1939-1945 กองกำลังเสียชีวิตรวม 24 ล้านคน พลเรือนเสียชีวิต 49 ล้านคน
  • สงครามเย็น
    • ความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มสหรัฐอเมริกา พันธมิตรนาโต้ และประเทศในสหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ
    • พยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม โดยประเทศมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน (proxy War)
    • สงครามตัวแทน
      • ค.ศ. 1950 สงครามเกาหลี
      • ค.ศ. 1959 การปฏิวัติคิวบา
      • ค.ศ. 1957-1975 สงครามเวียดนาม
      • ค.ศ.1979 สงครามอัฟกานิสถาน
      • ค.ศ. 1991 การยุบสหภาพโซเวียต
    • ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์
    • ความขัดแย้งผลประโยชน์ของชาติ
    • ช่องว่างแห่งอำนาจทางการเมือง
    • การเผยแพร่และการโฆษณาชวนเชื่อ
    • การแข่งขันทางการทหาร
    • การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
    • นโยบายทางการทูต
    • การแข่งขันทางวิทยาการและเทคโนโลยี

ความรู้คืออำนาจ

ฟูโกล์ (Michel Foucault, 1926-84) ได้ย้อนแย้งเอาไว้ว่าที่แท้แล้ว knowledge is power นั้นไม่ใช่พลังหากแต่เป็นอำนาจ มนุษย์สะสมความรู้ก็เพราะมนุษย์มองว่าความรู้คืออำนาจ เนื่องจากความรู้นั้นยึดโยงอยู่กับระบบของการควบคุมสังคมในช่วงนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เป็นพลังของนักการเมืองที่ใช้ลวงประชาชนเพื่อรักษาอำนาจการปกครองของตน นั่นคือ ที่มาของความขัดแย้ง ความรุนแรง และสงครามที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้ต่าง ๆ เข้าทำลายล้างห้ำหั่นกัน

Leave a comment